การผลิตน้ำส้มฆ่ายางจากกล้วยหอม และสับปะรดด้วยกรรมวิธีธรรมชาติเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการจับตัวของน้ำยางพาราสด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐดนัย เสือย้อย, นฤภร ถนอมใจ, วรินรำไพ ปานแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชวิมา จีนหมั้น, เอมอร เซี่ยงฉิน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตน้ำส้มฆ่ายางจากกล้วยหอม และสับปะรด ด้วยกรรมวิธีการหมักแบบธรรมชาติ เพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการทำให้น้ำยางพาราสดจับตัวแทนน้ำส้มฆ่ายางทั่วไปที่มีความอันตรายต่อต้นยางพาราและผู้ใช้งาน โดยเลือกใช้กล้วยหอม และสับปะรดมาผลิตน้ำส้มฆ่ายาง มีส่วนประกอบ คือ กล้วย น้ำตาล และน้ำเปล่า และนำเชื้อยีสต์ Saccharomyces cerevisiae มาผสมเข้าด้วยกัน หมักในโหล 15 วัน จากการทดลองพบว่าน้ำส้มฆ่ายางที่หมักจากกล้วยมีประสิทธิภาพมากกว่าน้ำส้มฆ่ายางที่หมักจากสับปะรด โดยเปรียบเทียบจากการแข็งตัวของน้ำยางที่จับตัวเป็นยางก้อนถ้วย น้ำส้มฆ่ายางที่หมักจากกล้วยหอม มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับน้ําส้มฆ่ายางทั่วไป จึงสามารถนํามาเป็นทางเลือกในการใช้งาน