การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของผักหวานป่า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุพิชญา แสนอุบล, จิณณพักต์ มนต์สันเทียะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐณิชา คำกันยา, พัฒนี พันธผล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ผักหวานป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Melientha suavis Pierre จัดอยู่ในวงศ์ OPILIACEAE เป็นผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เนื่องจากเป็นผักที่มีรสชาติหวานอร่อย แต่หารับประทานได้ค่อนข้างยากเพราะผักชนิดนี้จะให้ผลผลิตในบางช่วงฤดูกาลเท่านั้น คือในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และส่วนใหญ่จะเก็บมาจากป่า แต่ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกผักหวานป่าเพื่อการค้ากันมากขึ้น ทำให้ในหลายๆ พื้นที่มีผลผลิตออกจำหน่ายมากขึ้น

การขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยทั่วไปนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากผักหวานป่าติดผลและมีเมล็ดปริมาณมาก วิธีการเพาะมีอัตราการงอกและไม่ยุ่งยาก วรรณา มังกิตะและคณะ (2558) ศึกษานิเวศผักหวานป่ามีการกระจัดตัวเป็นกลุ่มในบางพื้นที่ ส่วนมากจะพบอยู่ตามบริเวณดินจอมปลวก เป็นไปได้ว่าการขึ้นของผักหวาน มีความสัมพันธ์กับปลวก แต่เมื่อย้ายปลูกจะมีการเจริญเติบโตช้ามากและมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายต่ำ มีการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตช่วยในการขยายพันธุ์ภูริทัต กองบุญสุขและคณะ (2021) ศึกษาความเข้มข้นของ GA3 ที่มีความเข้มข้น 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีเปอร์เซ็นการงอกสูงที่สุด ศึกษาสารควบคุม IBA และ NAA ต่อการเกิดรากในกิ่งตอนพบว่าทุกความเข้มข้นไม่มีผลต่อการชักนำให้เกิดราก โดยความเข้มข้น NAA ที่ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการเกิดรากมากที่สุด และจากศึกษาคลิปวีดิโอของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักหวาน ทำให้ได้ข้อสังเกตการเพาะต้นกล้าของผักหวานป่าว่า การบำรุงรากแรกเกิดให้เป็นรากแก้วที่แข็งแรงจะช่วยให้ผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดีแม้ถูกรบกวนจากการเผาป่า ปริมาณน้ำมีผลต่อการเน่าตายของต้นอ่อนหากใส่มากเกินไป การใส่ปุ๋ยมีต่อการเจริญโตเติบซึ่งระยะแรกควรบำรุงให้สร้างรากให้แข็งแรง ปริมาณแสงแดด วัสดุรองก้นหลุม พืชพี่เลี้ยง เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดและอนุบาลต้นผักหวานป่าเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตระยะต้นในสูตรปุ๋ยน้ำที่แตกต่างกันในพื้นที่ที่จำกัด