การขยายต้นพันธุ์มะค่าโพงโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการอนุรักษ์พืชใกล้สูญพันธุ์ในจังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรพล หงษ์คำมี, พชฏ มหาแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รพีพร ตะเคียนราม, เกียรติศักดิ์ บุตรสุด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

มะค่าโมงจัดเป็นไม้หวงห้ามประเภทก.ที่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนหากต้องการตัดฟันแปรรูปเพื่อการค้าเเละมีการขยายพันธุ์ที่ยากเนื่องจากการขยายพันธ์ุปกติขอมะค่าโมงใช้การเพาะเมล็ดเเต่เมล็ดมีเปลือกที่เเข็งทำให้ต้องกระเทาะก่อนทำให้เป็นไม้ที่ขยายพัน์ยากเเละควรค่าเเก่การอนุรักษ์ุ การปลูกและขยายพันธ์ุโดยปกติของมะค่าโมงควรปลูกด้วยต้นกล้าที่มีอายุประมาณ 8-12 เดือน และต้องปลูกในต้นฤดูฝน เพื่อให้ต้นสามารถเจริญเติบโตได้ดี ช่วยให้รากแข็งแรงสามารถตั้งตัวได้ ระยะที่ใช้ปลูกคือ 6-8 x 6-8 เมตร และควรใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้มาปกคลุมที่บริเวณโคนต้น เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้น ทั้งนี้ อัตราการเจริญเติบโตของต้นมะค่าโมง หากปลูกแล้ว 1 ปี จะมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 เมตร และโดยทั่วไปการขยายตัวของเส้นรอบวงจะน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี มะค่าโมงจะมีอายุการตัดฟันที่เหมาะสม สำหรับใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างคือ มีอายุประมาณ 25-30 ปีขึ้นไป การขยายพันธุ์มะค่าโมง วิธีที่ได้รับความนิยมและสะดวกมากที่สุด ก็คือ การขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด แต่เนื่องจากเมล็ดของมะค่าโมงจะมีเปลือกที่แข็งมาก หากนำเมล็ดไปเพาะชำเลย อาจทำให้เกิดการงอกที่ช้าและต้องใช้เวลานาน การปลูกและขยายพันธ์ุของต้นมะค่าโมงใช้เวลานานในการปลูกเเละเก็บผลผลิตส่วนการขยายพันธ์ุก็ใช้เวลานานเเละเกิดขึ้นได้เองได้ค่อนข้างยากเนื่องจากเปลือกเมล็ดที่เเข็ง จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทีมผู้พัฒนาสนใจที่จะพัฒนาการขยายพันธุ์ต้นมะค่าโมงด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและศึกษาอัตราส่วนอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงต้นมะค่าโมงและเปรียบเทียบจากผลเเก่เเละผลอ่อน ในการศึกษาการขยายพันธุ์มะค่าโมงในสภาพปลอดเชื้อโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาการชักนำแคลลัส (Callus) ของต้นมะค่าโมงในสภาพปลอดเชื้อ การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการพัฒนาแคลลัสเพื่อการชักนำการเกิดยอดในสภาพปลอดเชื้อ และเปรียบเทียบผลการทดลองด้วยผลลัพธ์ของผลเเก่เเละผลอ่อน สามารถนำผลการทดลองนี้นำไปใช้ในการขยายพันธ์ุต้นมะค่าโมงด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการเพิ่มจำนวนต้นหรือเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์และสามารถนำผลการทดลองไปปรับปรุงพันธุ์ต่อไป