ระบบบันทึกและเเจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิริยากร วงศ์จันทร์, กนกอร แสงกล้า, สัทธาทร สุกใส
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วาสนา เกษียร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
ชื่อเรื่องภาษาไทย ระบบบันทึกเวลาและแจ้งเตือนการมาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ Time Recorder and Intelligent Alert
สาขาคอมพิวเตอร์
ชื่อผู้ส่งประกวด
นายสัทธาทร สุกใส
นางสาวสิริยากร วงศ์จันทร์
นางสาวกนกอร แสงกล้า
อาจารย์ที่ปรึกษา นางวาสนา เกษียร
โรงเรียน ลือคำหาญวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบบันทึกเวลาและแจ้งเตือนการมาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ จัดทำขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบการตรวจสอบลายนิ้วมือเพื่อ ยืนยันตัวบุคคล และระบบการส่งข้อมูลด้วย อาร์ดูโน่ 2) เพื่อออกแบบ สร้าง และทดสอบ ระบบบันทึกเวลาและแจ้งเตือนการมาโรงเรียนอัจฉริยะ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบ บันทึกเวลาและแจ้งเตือนการมาโรงเรียนอัจฉริยะ
จากการศึกษาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบบันทึกเวลาและแจ้งเตือนการมาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ พบว่า ระบบบันทึกเวลาและแจ้งเตือนการมาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ ประกอบด้วย Arduino UNO, Node mcu, module fingerprint, keypad เป็นระบบบันทึกเวลา รหัสประจำตัวนักเรียน ชื่อ สกุล อัตโนมัติ โดยใช้การสแกนลายนิ้วมือของนักเรียน ระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ สามารถทำงานได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ แจ้งเตือนไปยัง แอพลิเคชั่นไลน์ได้อย่างรวดเร็ว และจัดเก็บข้อมูลเพื่อเป็นสถิติที่ Google sheet ทำให้ครูและผู้ปกครองดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้องและทันเวลาแก้ปัญหานักเรียนหลบเรียนได้
คำสำคัญ : ระบบบันทึกเวลา สแกนลายนิ้วมือ อาร์ดูโน่
บทที่ 1
บทนํา
1.1 ที่มาและความสำคัญ
การตรวจสอบรายชื่อหรือการระบุตัวตนของนักเรียนในปปัจจุบัน หลายๆสถานศึกษายังใช้แบบเดิมคือ การเรียกชื่อ การลงลายมือชื่อ และการแสดงบัตรนักเรียน รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Card), การใช้รหัสแท่ง (Bar Code) กระทั่งใช RFID (Radio Frequency Identification) นักเรียนสามารถขานชื่อ หรือเขียน ลายมือชื่อแทนกันได้ และถึงแมม้จะใช้เทคโนโลยีที่กล่าวมาแล้ว นักเรียนก็ยังสามารถนํา บัตรหรือรหัสของผู้อื่นมาใช้แทนกันไดด้ ทำให้หลายโรงเรียนเกิดปัญหานักเรียนหลบเรียน ไม่เข้าโรงเรียนในตอนเช้า ส่งผลให้ผลการเรียนต่ำและติด 0 ร มส โดยที่ผู้ปกครองไม่ทราบว่าลูกหลบเรียน จนกว่าทางโรงเรียนจะมีหนังสือแจ้งไปซึ่งก็อาจจะช้าเกินไป จากปัญหาดังกล่าวทําให้เกิดแนวคิดของ “ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ” ขึ้น เพื่อแก้ปัญหานักเรียนหลบเรียนไม่เข้าเรียนและรวมกลุ่มกันไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น เล่นเกม สูบบุหรี่ เสพยาเสพติด หรือทะเลาะวิวาท
ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ เป็นระบบที่ใช้การสแกนลายนิ้วมือของนักเรียนเพื่อบันทึกเวลาแล้วระบบจะส่งข้อความไปยังไลน์ของผู้ปกครองของนักเรียนแต่ละคนทันที เพื่อแจ้งให้ทราบว่านักเรียนได้เข้าโรงเรียนแล้ว พร้อมระบุเวลาที่เข้าโรงเรียนด้วย ทั้งนี้ยังสามารถจัดเก็บข้อมูลการมาโรงเรียนของนักเรียนแต่ละคนโดย Google sheet เพื่อทำเป็นสถิติและข้อมูลที่ครูงานปกครองจะสามารถตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนได้แทนการตรวจสอบการ เขาเรียนในแบบเดิมๆ ทั้งนี้เนื่องจากลายนิ้วมือนั้น มีความเป็นเอกลักษณ์ไม่มีใครเหมือนกัน ทำให้ระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ ที่สร้างขึ้นช่วยลดภาระของครูในการตรวจสอบนักเรียนที่หลบเรียน ไม่เข้าโรงเรียน สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้กับผู้ปกครอง ยังเป็นการช่วยในด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยทำให้ครูและผู้ปกครองติดตามการมาเรียนของนักเรียนได้ทุกวันและเป็นการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ มาใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อศึกษาระบบการตรวจสอบลายนิ้วมือ โปรแกรมเพื่อยืนยันตัวบุคคล และระบบการส่งข้อมูลด้วย อาร์ดูโน่
เพื่อออกแบบ สร้าง และทดสอบ ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
1.3ขอบเขตการศึกษา
ศึกษา ระบบสแกนลายนิ้วมือด้วยอาร์ดูโน่
ศึกษา การส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ด้วยอาร์ดูโน่
ศึกษา การส่งข้อมูลเพื่อประมวลผลและจัดทำฐานข้อมูลบน Google sheet
เขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน Arduino, Relay, module finger print, Node mcu
1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ได้เรียนรู้หลักการทำงาน โครงสร้าง ระบบควบคุม ระบบแสดงผลของอุปกรณ์
ได้ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์
ได้ระบบสแกนลายนิ้วมือด้วยอาร์ดูโน่ และการส่งข้อความผ่านไลน์
ได้ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
1.5 ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระยะเวลาในการทำโครงงาน 122 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ถึง 5 สิงหาคม 2561
บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาค้นคว้าและพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
2.1 โครงงานคอมพิวเตอร์
2.2 Arduino
2.3 Fingerprint sensor
2.4 Node mcu v1
2.5 รีเลย์ (Relay)
2.6 Step Down Converter
2.7 LCD
2.8 Thing speak
2.9 การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์
2.10 การออกแบบระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
2.11 สถิติและการตัดสินใจ
2.12 อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
2.13 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 โครงงาน คอมพิวเตอร์
ความหมายของโครงงาน คอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
2.2 Arduino UNO
เป็นบอร์ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพง ส่วนใหญ่โปรเจคและ Library ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมา Support จะอ้างอิงกับบอร์ดนี้เป็นหลัก และข้อดีอีกอย่างคือ กรณีที่ MCU เสีย ผู้ใช้งานสามารถซื้อมาเปลี่ยนเองได้ง่าย รายละเอียดบอร์ด Arduino UNO R3
เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรงผ่าน USB
สามารถเขียนและโปรแกรมตัวบอร์ดด้วย Arduino IDE
ตัวบอร์ดใช้ชิป ATmega328p ประมวลผลไวขึ้น เป็นชิปตัวใหม่อัพเกรดจากรุ่นก่อน
ตัวบอร์ดใช้ไฟเลี้ยง 5V
รูปที่ 2.1 อาร์ดูโน่ UNO
2.3 Fingerprint sensor คือ เซนเซอร์สำหรับสแกนลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบว่าตรงกับของใครในฐานข้อมูล สามารถบันทึกลายนิ้วมือในโมดูลได้สูงสุด 162 ลายนิ้วมือ ใช้ไฟเลี้ยง 3.6V-5V กระแสสูงสุด 150mA เชื่อมต่อแบบ UART
วิธีใช้งาน Fingerprint Senser โมดูลสแกนลายนิ้วมือ สำหรับ Arduino
การต่อสายกับบอร์ด Arduino Uno
•VCC : สีแดง - 5V
•GND : สีดำ - GND
•RX : สีขาว - 3
•TX : สีเขียว - 2
2.4 Node mcu v1
ใช้โมดูล ESP8266-12E ที่ภายในมีไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิต หน่วยความจำแบบแฟลช ความจุ 4 เมกะไบต์และโมดูล WiFi ในตัว
มีชิป CP2102 สำหรับแปลงสัญญาณพอร์ต USB เป็น UART เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับโปรแกรมเฟิร์มแวร์
ใช้ไฟเลี้ยงภายนอก +5V มีวงจรควบคุมแรงดันไฟเลี้ยงสำหรับอุปกรณ์ 3.3V กระแสไฟฟ้าสูงสุด 800mA
มีขาพอร์ต SPI สำหรับติดต่อกับ SD การ์ด
มีสวิตช์ RESET และ Flash สำหรับโปรแกรมเฟิร์มแวร์ใหม
มีอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล (ลอจิก 3.3V) รวม 16 ขา
มีอินพุตอะนาลอก 1 ช่อง รับแรงดันไฟตรง 0 ถึง +1Vdc เข้าสู่วงจรแปลงสัญญาณอะนาอกลเป็นดิจิตอล ความละเอียด 10 บิต
เสียบลงบนเบรดบอร์ดเพื่อทำการทดลองได้ทันที หรือนำไปติดตั้งบนแผงวงจรประยุกต์ที่ออกแบบขึ้นเองได้สะดวก
รูปที่ 2.3 node mcu v1
2.5 รีเลย์ (Relay)
เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็ก เพื่อใช้ในการดึงดูดหน้าสัมผัสของคอนแทคให้เปลี่ยนสภาวะ โดยการป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด เพื่อทำการปิดหรือเปิดหน้าสัมผัสคล้ายกับสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราสามารถนำรีเลย์ไปประยุกต์ใช้ ในการควบคุมวงจรต่าง ๆ ในงานช่างอิเล็กทรอนิกส์มากมาย
รีเลย์ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนหลักก็คือ
ส่วนของขดลวด (coil) เหนี่ยวนำกระแสต่ำ ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้แกนโลหะไปกระทุ้งให้หน้าสัมผัสต่อกัน ทำงานโดยการรับแรงดันจากภายนอกต่อคร่อมที่ขดลวดเหนี่ยวนำนี้ เมื่อขดลวดได้รับแรงดัน(ค่าแรงดันที่รีเลย์ต้องการขึ้นกับชนิดและรุ่นตามที่ผู้ผลิตกำหนด) จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้แกนโลหะด้านในไปกระทุ้งให้แผ่นหน้าสัมผัสต่อกัน
ส่วนของหน้าสัมผัส (contact) ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ที่เราต้องการ
จุดต่อใช้งานมาตรฐาน ประกอบด้วย
จุดต่อ NC ย่อมาจาก normal close หมายความว่าปกติดปิด หรือ หากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้ทำงานตลอดเวลาเช่น
จุดต่อ NO ย่อมาจาก normal open หมายความว่าปกติเปิด หรือหากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะไม่ติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการควบคุมการเปิดปิดเช่นโคมไฟสนามหนือหน้าบ้าน
จุดต่อ C ย่อมากจาก common คือจุดร่วมที่ต่อมาจากแหล่งจ่ายไฟ
รูปที่ 2.4 Relay
2.6 Step Down
หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับแรงดันลง คือ อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าสูงที่มาจากสายส่งให้ลดลงเพื่อให้ได้แรงดันไฟฟ้าตามที่ผู้ใช้งานต้องการเช่น ลดลงจาก 24,000/12,000 โวลท์ เป็น 440/230 โวลท์
การปรับลดแรงดันไฟฟ้าลงของหม้อแปลงปรับแรงดันไฟฟ้าเป็นเพียงการลดแรงดันไฟฟ้าแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มกระแสไฟฟ้า (I) ตามกฏของโอห์ม (P=IV) ด้วยเหตุผลนี้หม้อแปลงปรับแรงดันไฟฟ้าลง (step-down transformers) จึงเป็นการลดประสิทธิภาพของไฟฟ้าและเป็นการสูญเสียพลังงานทุกครั้งที่มีการปรับลดแรงดันลดลง การปรับแรงดันลงโดยหม้อแปลงปรับแรงดัน (step-down transformers) เป็นเพิ่มความร้อน (I2R) ให้กับหม้อแปลง และยังเพิ่มความร้อนให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเนื่องจากเมื่อปรับลดแรงดันลง(V)เท่ากับเป็นการเพิ่มกระแสไฟฟ้า (I) ให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเอง
รูปที่ 2.5 Step Down
2.7 LCD I2C
จอ Liquid Crystal Display (LCD) เป็นจอแสดงผลรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานกันกับระบบสมองกลฝังตัวอย่างแพร่หลาย จอ LCD มีทั้งแบบแสดงผลเป็นตัวอักขระเรียกว่า Character LCD ซึ่งมีการกำหนดตัวอักษรหรืออักขระที่สามารถแสดงผลไว้ได้อยู่แล้ว และแบบที่สามารถแสดงผลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานเรียกว่า Graphic LCD นอกจากนี้บางชนิดเป็นจอที่มีการผลิตขึ้นมาใช้เฉพาะงาน ทำให้มีรูปแบบและรูปร่างเฉพาะเจาะจงในการแสดงผล เช่น นาฬิกาดิจิตอล เครื่องคิดเลข หรือ หน้าปัดวิทยุ เป็นต้น
โครงสร้างโดยทั่วไปของ LCD
LCD สามารถแสดงผลให้เรามองเห็นได้ทั้งหมด 3 แบบด้วยกันคือ
แบบใช้การสะท้อนแสง (Reflective Mode) LCD แบบนี้ใช้สารประเภทโลหะเคลือบอยู่ที่แผ่นหลังของ LCD ซึ่ง LCD ประเภทนี้เหมาะกับการนำมาใช้งานในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ
แบบใช้การส่งผ่าน (Transitive Mode) LCD แบบนี้วางหลอดไฟไว้ด้านหลังจอ เพื่อทำให้การอ่านค่าที่แสดงผลทำได้ชัดเจน
แบบส่งผ่านและสะท้อน (Transflective Mode) LCD แบบนี้เป็นการนำเอาข้อดีของจอแสดงผล LCD ทั้ง 2 แบบมารวมกัน
รูปที่ 2.6 จอ LCD
2.8 Google Sheet
Google Sheets ก็เปน Apps ในกลุมของ Google Drive ซึ่งเปนนวัตกรรมใหมของ Google มีลักษณะการทํางานคลายๆ กับ Excel มีการสราง Column Row สามารถใสขอมูลตางๆ ลงไปใน Cell ได คํานวณสูตร ต่าง ๆ ได ไมตองติดตั้งที่เครื่องสามารถใชงานบน Web ได โดยไฟลจะถูกบันทึกไวที่ Server ของ Google ทําใหสามารถเปดใชงานไดไมวาจะอยูที่ใด เพียงมี Web browser และ อินเตอรเน็ต สามารถแชรไฟลใหผูอื่นรวมใชงานไดและมีระบบ Real time Save อัตโนมัติ นอกจากนี้ยัง สามารถ Save หรือ Export ออกมาใชงานกับ Excel ที่เครื่องของเราไดอีกดวย ทําใหการทํางานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยการล็อกอินเขาใชงานในเว็บไซต Google ด้วย google account หรือ gmail ก็สามารถเขาไปใชงานได
รูปที่ 2.7 Google sheet
2.9 การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ ด้วย Arduino IDE
อาดูยโน่เป็นโอเพ็นซอสทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ดังนั้นในการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของบอร์ดอาดูยโน่จึงมีเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมมาให้ใช้กันฟรีๆแบบไม่ต้องซื้อหา เครื่องมือที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมนี้คือ Arduino IDE (Arduino integrated development environment (IDE))
รูปที่ 2.8 โปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ Arduino IDE
2.10 การออกแบบ ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Lift Cycle-SDLC) ระบบสารสนเทศทั้งหลายมี
วงจรชีวิตที่เหมือนกัน ตั้งแต่เกิดจนตาย วงจรนี้จะเป็นขั้นตอนที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อยเป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบ ต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร ขั้นตอนการพัฒนาระบบมี 7 ขั้นตอน คือ
เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
วิเคราะห์ (Analysis)
ออกแบบ (Design)
สร้าง หรือพัฒนาระบบ (Construction)
การปรับเปลี่ยน (Conversion)
บำรุงรักษา (Maintenance)
2.11 สถิติและการตัดสินใจ
ในปัจจุบันนี้คำว่า “สถิติ” ได้พัฒนาขึ้นอย่างกว้างขวางทั้งในด้านเนื้อหา และวิธีการจนมีความหมายเกินกว่าการเป็นเพียงข้อมูลหรือข่าวสารที่ใช้เป็นประโยชน์ในการบริหารของรัฐตามความหมายดั้งเดิมโดยเราสามารถแยกความหมายออกได้เป็น 4 ความหมายด้วยกัน คือ
สถิติ หมายถึง ข้อมูลตัวเลขที่ใช้แทนข้อเท็จจริง เช่น สถิติปริมาณน้ำฝนในรอบเดือนที่ผ่านมา จำนวน 6 เดือน สถิติการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในรอบปี
สถิติ หมายถึง เครื่องมือหรือเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีทางสถิติ (Statistical Method) ในแง่นี้สถิติเป็นวิธีกาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดกระทำต่อข้อมูลที่เราสนใจอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection) การนำเสนอข้อมูล (Presentation) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) และการแปลความหมายข้อมูล (Interpretation)
สถิติ หมายถึง ค่าตัวเลขที่คำนวณได้จากข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง (Sample Data) ค่าที่คำนวณได้ออกมานั้นเรียกว่า ค่าสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของกลุ่มตัวอย่าง ( ) ค่ามัธยฐาน (Mean) หรือค่าฐานนิยม (Mode) ค่าคะแนนมาตรฐาน (S.D.) เป็นต้น
สถิติ หมายถึง วิชาหรือศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมาจนเป็นระบบและเปิดสอนทั่วไปในสถาบันการศึกษา เรียกว่าวิชา สถิติ มีขอบข่ายที่กว้างขวางและเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น
สถิติกับการตัดสินใจและวางแผนการตัดสินใจต่าง ๆ ไม่สามารถใช้แต่เพียงข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน จึงจะนา มาใช้เพื่อการตัดสินใจตอบคา ถาม หรือประเด็นปัญหาที่สนใจ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการเกิดช้า ของปรากฏการณ์ได้ข้อ มูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วนั้นเรียกว่าสารสนเทศ หรือ ข่าวสาร (Information) การตัดสินใจ จะมีโอกาสผิดพลาดมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและสารสนเทศที่ผู้ตัดสินใจมีอยู่ข้อมูลและสารสนเทศ สามารถหามาได้โดยวิธีทางสถิติ ซึ่งเป็นวิชาการที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
2.12 อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) หมายถึง การควบคุมหรือออกแบบการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบของวงจร ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า
การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ในการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เราควรจะเข้าใจการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ มากขึ้น และสามารถนำมาพัฒนาคุณภาพของอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น
2.13 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พิทย์พิมล ชูรอด และคณะ (2558). ศึกษา ระบบยืมหนังสือด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือของสํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ ผลการศึกษา พบว่า ระบบยืมหนังสือด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือของสํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยา เขตพัทลุง พัฒนาขึ้นโดยใช้ ซอฟต์แวร์ Microsoft Visual Basic .NET 2008 และใช้ Oracle 8i ใน ลักษณะ .NET Application เป็นระบบยืมหนังสือโดยใช้ลายนิ้วมือที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออํานวยความ สะดวกให้กับสมาชิกห้องสมุดในการยืมหนังสือรวมถึงเป็นการแก้ปัญหาและป้องกันการนําบัตรของ ผู้อื่นมายืมหนังสือ จากผลการประเมินการใช้ระบบ พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจในการยืมหนังสือที่มี ความสะดวกมากยิ่งขึ้น มีระดับประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก และระบบช่วยให้การยืมหนังสือมี ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีระดับประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31
วิชาญ เพชรมณี , ขจรศักดิ์ พงศธนา (2558) ศึกษา ระบบบันทึกการเขาชั้นเรียนดวยการสแกนลายนิ้วมือแบบไรสาย มีวัตถุประสงคเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความ แมนยําใหกับระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนดวยการสแกนลายนิ้วมือแบบไรสาย โดยระบบจะประกอบไปดวย ชุดสแกนลายนิ้วมือซึ่งเชื่อมตอกับไมโครคอนโทรลเลอรและชุดสื่อสารรับสงสัญญาณดิจิตอลไรสายซึ่งมี คอมพิวเตอรเปนตัวกลางในการรับสงสัญญาณเพื่อเปรียบเทียบกับระบบฐานขอมูลของผูเขาเรียนและบันทึก เวลาเขาเรียน พรอมทั้งสรุปผลและวิเคราะหจํานวนการเขาเรียนของผูเรียนออกมามีหนวยเปนเปอรเซ็นต โดยผลการทดสอบแสดงใหเห็นวาระบบบันทึกเวลาที่สรางขึ้นนั้นมีความถูกตองแมนยําสูงมาก อีกทั้งระบบยัง สามารถทําการบันทึกการเขาชั้นเรียนโดยไมรบกวนเวลาในการเรียนการสอนไดเปนอยางดี
ชัยยุทธ โพคาพานิชย์ และสายสุดา นนทคาจันทร์. (2556) ได้ศึกษาเรื่อง ระบบตรวจวัดข้อมูลด้วยแอนดรอยด์ (Android-Based Monitoring System) เป็นการวัดข้อมูลผ่าน sensor เช่น Current Sensor, Voltage Sensor, Temperature Sensor และ Light Sensor โดยใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ผ่านเครือข่าย Internet ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือแอปพลิเคชั่นแอนดรอยด์ (Android Application) และ ชุดอุปกรณ์ ไมโครคอนโทรเลอร์ (Microcontroller) ทำงานเป็น TCP Server ซึ่งจะรับข้อมูลจากการวัดค่าของวงจรเช่น Current Sensor , Voltage Sensor, Temperature Sensor และ Light Sensor โดยมีหลักการทำงานคือแอปพลิเคชั่นแอนดรอยด์ที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้งานและจะทำการส่งค่าสั่งนั้นไปยังชุดอุปกรณ์ ไมโครคอนโทรเลอร์ ในรูปแบบข้อความหรือสัญลักษณ์โดยเชื่อมต่อผ่านระบบไร้สาย (Wireless LAN) หลังจากชุดอุปกรณ์ ไมโครคอนโทรเลอร์ ได้รับคำสั่งจะทำการประมวลผล จะส่งค่าที่วัดได้ ไปยังแอปพลิเคชั่นแอนดรอยด์เพื่อแสดงค่าต่างๆผ่านโทรศัพท์หรือ Tablet นั้น
บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีดําเนินการ
การศึกษาค้นคว้าและพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ มีวิธีการดำเนินโครงงาน ตามขั้นตอนต่อไปนี้
3.1 วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือและโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์
1.2 โทรศัพท์มือถือ
1.3 ชุด ไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ประกอบด้วย
1.2.1 Arduino UNO
1.2.2 Fingerprint sensor
1.2.3 Step Down
1.2.4 Node MCU v1
1.2.5 LCD I2C
1.2.6 Keypad 4x4
1.2.7 Base board node v1
1.2.8 กล่องอเนกประสงค์และอุปกรณ์เชื่อมต่อวงจร
1.4 โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินงานได้แก่
โปรแกรม Arduino IDE เวอร์ชัน 1.8.5 และ Google sheet
3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นที่ 1 กําหนดปัญหาหรือความต้องการ
ปัญหา คือ นักเรียนมาสาย หลบแถวตอนเช้า และบางคนหลบเรียนทั้งวัน โดยที่ครูและ
ผู้ปกครองไม่ทราบ โดยครูก็คิดว่าขาดเรียน ผู้ปกครองก็คิดว่ามาเรียนเพราะส่งขึ้นรถมาโรงเรียนแล้วหรือบางคนส่งหน้าประตูโรงเรียนแต่ลูกไม่ได้เข้าโรงเรียน ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ผลการเรียนต่ำ ติด 0 ร มส หรือบางคนติดเกม ติดบุหรี่ คบเพื่อนที่เกเร และเป็นปัญหาของสังคม
แนวทางการแก้ปัญหา คือ ออกแบบระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ จะทำให้ครูและผู้ปกครองตรวจสอบการมาโรงเรียนของนักเรียนได้ทุกวันช่วยป้องกันและแก้ปัญหานักเรียน หลบเรียนได้
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
จากแนวทางการแก้ปัญหาโดยการสร้างระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาดูโน่ ศึกษาข้อมูลดังต่อไปนี้
1.การวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการด้วยชุดคำถาม 5W 1H
1)ปัญหาหรือสนองความต้องการคืออะไร (What)
-นักเรียนหลบเรียน ไม่เข้ามาในโรงเรียนโดยที่ครูและผู้ปกครองไม่ทราบ
2)ปัญหาหรือสนองความต้องการเกิดกับใคร (Who)
-นักเรียน (กรณีนักเรียน โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ)
3)ปัญหาหรือสนองความต้องการเกิดขึ้นที่ไหน (Where)
-โรงเรียน หรือ สถานศึกษา (กรณี โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ)
4)ปัญหาหรือสนองความต้องการเกิดขึ้นเมื่อไร (When)
-ช่วงเช้า เวลา 07.00-08.00 น.
5)เพราะเหตุใดจึงต้องแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ (Why)
-นักเรียนหลบเรียน หนีเรียน ไม่เข้ามาในโรงเรียน ในช่วงเช้าก่อนเข้าแถว ทำให้ผลการเรียนต่ำ ติด 0 ร มส และมีพฤติกรรมรวมกลุ่มสร้างความเดือนร้อนให้ชุมชน หรือมั่วสุมในทางที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในระยะยาว
6)จะแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างไร(How)
พัฒนาระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาดูโน่ จากเทคโนโลยีดิจิตอล อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในปัจจุบัน เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลและส่งข้อมูลเวลามาเรียนของนักเรียนไปยังแอพลิเคชั่นไลน์ผู้ปกครอง
ข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
2.1 รูปแบบอุปกรณ์ระบบบันทึกเวลามาโรงเรียน
2.2 การต่อวงจรของระบบ
วงจรของระบบที่ใช้ในการปฏิบัติงานโครงงาน
รูปที่ 3.2 การออกแบบวงจรระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
2.3 สร้างวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เพื่อเป็นแนวทางเลือกในการออกแบบ (Design Solution)
วิธีการที่ 1 บันทึกด้วย QR-code วิธีการที่ 2 บันทึกด้วย RFID
วิธีการที่ 3 บันทึกด้วยการสแกนลายนิ้วมือ
ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ รูปแบบที่เลือกวิธีการที่จะออกแบบมีหน้าที่ในการบันทึกเวลา และจัดเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลบนเว็บ thing speak และส่งข้อมูลแบบทันทีผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ โดยคำนึงถึงหน้าที่ ประโยชน์ที่จะนำมาใช้ เทคโนโลยีที่นำมาใช้ต้องสะดวก รวดเร็วและแม่นยำตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาด้านการเรียนได้ จากวิธีทั้ง 3 แบบ เมื่อนำมาวิเคราะห์ถึงรูปแบบที่จะนามาประยุกต์ให้เข้ากับกิจกรรมหรืองานของโรงเรียนแล้ว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับในการใช้งาน และความคุ้มค่าในการลงทุน โดยพิจารณาจากทั้ง 3 รูปแบบ คือ
วิธีที่ 1 บันทึกด้วย QR-code สามารถระบุตัวตนได้ แต่นักเรียนคนอื่นสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดแทนเพื่อนได้
วิธีที่ 2 บันทึกด้วย RFID สามารถระบุตัวตนได้ แต่นักเรียนคนอื่นสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดแทนเพื่อนได้
วิธีที่ 3 บันทึกด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เป็นวิธีการที่เหมาะสมและสามารถใช้ได้กับแผงวงจรขนาดเล็ก และยังสามารถระบุตัวตนบุคคลได้จริง เนื่องจากลายนิ้วมือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล
สรุปผลการวิเคราะห์ เลือกวิธีการที่ 3 เนื่องจากวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ไม่สามารถระบุตัวตนได้จริงเนื่องจากสามารถทำแทนกันได้ แต่วิธีการสแกนลายนิ้วมือจะระบุเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งไม่เหมือนกัน และเลือกการส่งข้อมูลไปยังแอพลิเคชั่นไลน์ เนื่องจากสะดวกรวดเร็วและได้รับความนิยม
ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
1.การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาหรือเสนอความต้องการโดยละเอียด
ขั้นที่ 5 การทดสอบ ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข
นำระบบไปทดลองใช้กับนักเรียนโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ โดยทดลองในช่วงเวลา 07.00-08.00 น. โดยติดตั้งระบบไว้ที่หน้าห้องกิจการนักเรียน ประตูทางเข้าโรงเรียน ซึ่งจะมีครูเวรรอรับนักเรียนตอนเช้าทุกวัน
5.1 ปรับปรุงแก้ไข
นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบระบบ มาปรับปรุงในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การสแกนผิดพลาด การใช้
แบตเตอรีขนาดเล็กแทนการเสียบปลั๊กกรณีไฟดับ
5.2 ประเมินผล
ตารางที่ 3.1 ปฏิทินการดำเนินงาน การพัฒนาระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่
ขั้นตอนการปฏิบัติงานพ.ศ.2561
พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.
วันที่วันที่วันที่วันที่วันที่วันที่วันที่วันที่
คัดเลือกหัวข้อโครงงาน5-6
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่สนใจ7-20
จัดทำโครงร่างโครงงาน21-31
จัดทำโครงงาน ระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
1-301-15
วัดประสิทธิภาพ สังเกต บันทึกผล16-20
นำเสนอรายงานความก้าวหน้าให้ครูที่ปรึกษาได้ตรวจสอบ21
ปรับปรุงแก้ไข22-26
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน27-311-5
บทที่ 4
ผลการศึกษา
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ มีผลการดำเนินโครงงาน ดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่
รูปที่ 4.1 วงจรระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
4.2 ผลการทดสอบระบบ
ทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วย
อาร์ดูโน่ ผลการทดสอบเป็นไปตามตามตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 ผลการทดสอบการทำงานของระบบบันทึกลายนิ้วมือต้นฉบับ
ครั้งที่ผลการสแกน
1สำเร็จ
2สำเร็จ
3สำเร็จ
4สำเร็จ
5สำเร็จ
จากตารางที่ 4.1 จะเห็นว่าการทำงานของ ระบบสแกนลายนิ้วมือ สามารถบันทึกลายนิ้วมือต้นฉบับได้ถูกต้องทั้ง 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ100
ตารางที่ 4.2 ผลการทำงานของระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลามาโรงเรียน
ครั้งที่ผลการสแกนส่งข้อมูลไปแสดงบนแอพลิเคชั่นไลน์
1ถูกต้องส่ง
2ถูกต้องส่ง
3ถูกต้องส่ง
4ถูกต้องส่ง
5ถูกต้องส่ง
จากตารางที่ 4.2 การทำงานของระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลามาโรงเรียน ทำงานได้ถูกต้องทั้ง 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 และการส่งข้อมูลไปแสดงยังแอพลิเคชั่นไลน์ทำงานได้ถูกต้อง 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ100
ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบสถิติมาการโรงเรียนของนักเรียนเมื่อ ไม่ใช้ระบบบันทึกเวลาและแจ้งเตือนมาโรงเรียนอัจฉริยะ กับ การใช้ระบบ
วันที่ร้อยละของนักเรียนมาทันเวลาเข้าแถวเมื่อไม่ใช้ระบบร้อยละของนักเรียนมาทันเวลาเข้าแถวเมื่อใช้ระบบ
16 ก.ค.256181-
17 ก.ค.2561 -93
18 ก.ค.256185-
19 ก.ค.2561 -95
20 ก.ค.25617996
จากตารางที่ 4.3 เมื่อเปรียบเทียบสถิติการมาโรงเรียนของนักเรียน เมื่อทดลองใช้ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาดูโน่ พบว่า วันที่ 1 นักเรียน ร้อยละ 93 มาเข้าแถวทันเวลา วันที่ 3 นักเรียนร้อยละ 95 มาเข้าแถวทันเวลา วันที่ 7 นักเรียนร้อยละ 96 มาเข้าแถวทันเวลา
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล
การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบการตรวจสอบลายนิ้วมือ โปรแกรมเพื่อยืนยันตัวบุคคล และระบบการส่งข้อมูลด้วย อาร์ดูโน่ 2) เพื่อออกแบบ สราง และทดสอบ ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบ บันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ
สรุปผลการทดลอง
ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ ประกอบด้วย Arduino, Node mcu, module fingerprint, step down ,relay, keypad เป็นระบบบันทึกเวลา รหัสประจำตัวนักเรียน ชื่อ สกุล อัตโนมัติ โดยใช้การสแกนลายนิ้วมือของนักเรียน ซึ่งมีผลการทดลอง ดังนี้
1.การทำงานของ ระบบสแกนลายนิ้วมือ สามารถบันทึกลายนิ้วมือต้นฉบับได้ถูกต้องทั้ง 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ100
2.การทำงานของระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลามาโรงเรียน ทำงานได้ถูกต้องทั้ง 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 และการส่งข้อมูลไปแสดงยังแอพลิเคชั่นไลน์ทำงานได้ถูกต้อง 5 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ100
จากการทดลองจึงสรุปได้ว่า ระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาร์ดูโน่ สามารถทำงานได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ แจ้งเตือนไปยังแอพลิเคชั่นไลน์ได้อย่างรวดเร็ว
3.สถิติการมาโรงเรียนทันเวลาเข้าแถวตอนเช้า เพิ่มมากขึ้น จากวันที่ไม่มีการใช้ระบบบันทึกเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะด้วยอาดูโน่ โดยในช่วงเวลาการทดสอบระบบ จำนวน 3 วัน พบว่านักเรียนมาเข้าแถวทันเวลา เฉลี่ยร้อยละ 94.67
อภิปรายผลการทดลอง
ระบบบันทึกและแจ้งเตือนเวลามาโรงเรียนอัจฉริยะ ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบการมาโรงเรียนของนักเรียนได้ โดยระบบจะบันทึกเวลาที่นักเรียนสแกนนิ้วมือ แล้วส่งข้อมูลซึ่งประกอบด้วย เลขประจำตัว ชื่อ สกุล ของนักเรียน ไปแสดงยังแอพลิเคชั่นไลน์ของผู้ปกครอง และส่งไปประมวลผลเพื่อสรุปเป็นสถิติการมาโรงเรียนที่เว็บ Thing speak ซึ่งครูสามารถพิมพ์รายงานสรุปเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ก็ได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาขาดเรียน มาเรียนสาย หรือหลบเรียนได้ทันเวลา ตาม ระบบนี้ไม่เพียงแต่อํานวยความสะดวก ในการเรียนการสอนเท่านั้น ระบบยังสามารถ พัฒนาและดัดแปลงเพื่อใช้ได้หลากหลายแบบ เช่น ใช้แทนตั๋วการเดินทางโดยไม่ต้องกังวลว่าตั๋ว จะสูญหาย หรือใช้แทนบัตรเงินสดและบัตรเครดิต โดยอาจจะตองมีรหัสความปลอดภัยควบคู่กับการสแกนลายนิ้วมือ
ข้อเสนอแนะ
เพิ่มจํานวนของชุดสแกน ลายนิ้วมือเพื่อเพิ่มความเร็วในการตรวจสอบ
ศึกษาและพัฒนาเกี่ยวกับระบบตรวจการแต่งกาย ทรงผม ของนักเรียน ด้วยกล้องอัตโนมัติ ถ่ายรูปทันทีเมื่อสแกนนิ้วมือ หรือระบบสแกนใบหน้าแล้วส่งไปยังแอพลิเคชั่นไลน์ของผู้ปกครอง
บรรณานุกรม
ชัยยุทธ โพคาพานิชย์ และสายสุดา นนทคาจันทร์. (2556) ระบบตรวจวัดข้อมูลด้วยแอนดรอยด์ (Android-
Based Monitoring System) โครงงานนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิรนาม.2556. Arduino คืออะไร.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก :http://www.thaieasyelec.com/basic-
electronics/บทความ-Arduino-ตอนที่1-แนะนำเพื่อนใหม่ที่ชื่อ-Arduino.html, 8 พ.ค. 2561
พิทย์พิมล ชูรอด และคณะ (2558). ระบบยืมหนังสือด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือของสํานักหอสมุด
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก
http://pulinet.oas.psu.ac.th/index.php/journal สืบค้นวันที่ 9 พ.ค.2561
วิชาญ เพชรมณี , ขจรศักดิ์ พงศธนา (2558) ระบบบันทึกการเขาชั้นเรียนดวยการสแกนลายนิ้วมือ
แบบไรสาย.โครงงาน (ออนไลน์) http://ejournals.swu.ac.th/index.php/ictl/article/view/397
สืบค้นวันที่ 9 พ.ค. 2561
เอกชัย มะการ, เรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR ด้วย Arduino.บริษัท อีทีที จำกัด : กรุงเทพฯ
(2552.), 544 หน้า
Simon Monk. Arduino + Android Projects for the Evil Genius. McGraw-Hill/TAB
Electronics; 1st edition (2011).
Mountain A. 2556.Introduction to Arduino GPRS/GSM Module (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก http://www.arduitronics.com/article/introduction-to-arduino-gprs-gsm-module, 12 พ.ค.2561
การใช้งาน google Application เข้าถึงได้จาก https://csc.kmitl.ac.th/cscweb-1/archives/6402 วันที่ 13 พ.ค.2561.