อุปกรณ์ดักฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยดอกหญ้าขจรจบที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้าสถิต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อารดา พัฒนขจร, เขมิกา เกษมธนาสันต์, ศรฤทัยวรรณ กนกหงส์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุรศักดิ์ บุญธิมา, นาถนรินทร์ บุญธิมา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องอุปกรณ์ดักฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยดอกหญ้าขจรจบที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้าสถิต มีวัตุประสงค์เพื่อลดปริมาณค่าฝุ่นละอองในอากาศให้มีปริมาณฝุ่นละอองลดลงจากเดิม เพื่อประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางในการช่วยลดมลพิษทางอากาศที่มีสาเหตุมาจากปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน โดยศึกษาปริมาณค่าไฟฟ้าสถิตในการเหนี่ยวนำของดอกหญ้าขจรจบที่สามารถดักจับฝุ่นละอองในอากาศ เพื่อให้ได้ปริมาณไฟฟ้าสถิตที่สามารถดักจับฝุ่นละอองในอากาศได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และได้อุปกรณ์ดักฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติตามต้องการ ในขั้นตอนการทำอุปกรณ์ดักฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยดอกหญ้าขจรจบ สามารถแบ่งขั้นตอนของศึกษาได้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การเตรียมดอกหญ้าขจรจบ เพื่อแปรรูปดอกหญ้าขจรจบสดเป็นลักษณะตามต้องการ ตอนที่ 2 การประกอบอุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองในอากาศ เป็นการนำดอกหญ้าขจรจบและวัสดุต่างๆที่ใช้ในการทำอุปกรณ์ ตามขั้นตอนการทำอุปกรณ์ดักฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้แก่ เครื่องกำเนิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แผ่นโลหะ ท่อวัสดุไดอิเล็กทริก เซนเซอร์ บอร์ดArduinoเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ และบอร์ดวงจรขนาดเล็ก โดยการนำดอกหญ้าขจรจบแปรรูปใส่ในท่อซึ่งเป็นวัสดุไดอิเล็กทริก นำแผ่นโลหะมาวางชิดกับท่อโดยเว้นระยะห่างระหว่างท่อกับแผ่นโลหะเล็กน้อย จากนั้นทำการเหนี่ยวนำดอกหญ้าขจรจบโดยการใช้ปริมาณค่าไฟฟ้าสถิตประจุบวกและประจุลบสุดท้ายนำเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ นำเซนเซอร์ต่อเข้ากับแผงวงจรและบอร์ด Arduino R3 เขียนโปรแกรมเพื่อให้เซ็นเซอร์ตรวจจับปริมาณค่าฝุ่นละออง หากเกินค่ามาตรฐานอุปกรณ์จะทำงานและเมื่อปริมาณค่าฝุ่นละอองลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานอุปกรณ์จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ตอนที่ 3 ทดสอบค่าไฟฟ้าสถิตที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นเพื่อให้ได้ค่าไฟฟ้าที่สามารถเหนี่ยวนำดอกหญ้าขจรจบให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ตอนที่ 4 ทดสอบปริมาณการลดลงของค่าฝุ่นละอองในอากาศ โดยการวัดปริมาณฝุ่นในอากาศที่เข้าสู่ตัวเครื่องและออกจากตัวเครื่องของอากาศที่ผ่านอุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองโดยการใช้เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศและใช้เกณฑ์ในการวัดปริมาณฝุ่นละอองตามมาตรฐาน