นวัตกรรมอนุบาลกล้วยไม้ป่าช้างกระเพื่อการอนุรักษ์กล้วยไม้ ในเขตพื้นที่ป่าแห้งแล้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มิลธิตา แก้วสำราญ, ปนัสยา ช่วยนา, มนปริญา ทองโคตร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วีรยุทธ ทองแดง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น มีพรรณไม้ขึ้นชื่ออย่างกล้วยไม้ป่าช้างกระซึ่งมีการจัดงานประจำปีช่วงกลาง-ปลายเดือนมกราคมของทุกปีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมกล้วยไม้ ถือเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนในพื้นที่ แต่จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่อากาศแห้งแล้งต่อเนื่องส่งผลให้กล้วยไม้ป่าช้างกระลดจำนวนลงซึ่งเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถหาแนวทางแก้ไขได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจในอำเภอมัญจาคีรีตกต่ำลง ทางคณะผู้วิจัยจึงออกแบบนวัตกรรมอนุบาลเพื่อใช้สำหรับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ป่าช้างกระ ซึ่งมีต้นแบบมาจากการขยายพันธุ์ของต้นกาฝาก โดยวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยในครั้งนี้คือเพื่อสร้างนวัตกรรมอนุบาลกล้วยไม้ป่าช้างกระและเพื่อเพิ่มจำนวนกล้วยไม้ป่าช้างกระให้อยู่รอด มีขอบเขตการวิจัยคือกล้วยไม้ป่าช้างกระ ซึ่งตัวนวัตกรรมจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน โดยส่วนด้านในทำมาจากผักตบชวาและยางมะกอกในอัตราส่วน 5:2 อัดขึ้นรูปเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมด้วยแม่พิมพ์ มีคุณสมบัติคือ ดูดซึมน้ำได้มาก คายน้ำน้อย ย่อยสลายช้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่วนด้านนอกเป็นส่วนที่ทายางพาราเคลือบไว้หนึ่งด้านเพื่อให้นวัตกรรมมีความสามารถในการงอตัวจะทำให้สะดวกเวลานำนวัตกรรมไปติดกับต้นไม้ ซึ่งจากการทดลองพบว่าตัวนวัตกรรมสามารถช่วยให้กล้วยไม้มีชีวิตอยู่รอดได้