ชุดตรวจสอบมะเร็งโดยใช้หลักการเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนเซอร์เบนต์แอสเสย์เพื่อตรวจสอบมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัลอิลอยด์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กิตติธัช แสงศรี, ลาภวัต สงรัก, ปิติณัช คงแป้น

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จันทร์ทิพย์ จุลศักดิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในประชากรโลกที่มีสถิติเป็นอันดับต้นๆ มะเร็งสามารถจำแนกได้หลายประเภท ซี่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นมะเร็งอีกหนึ่งชนิดที่เป็นภัยเงียบที่มีการแสดงผลช้า การจัดการกับโรคมะเร็งในปัจจุบันมีปัญหาส่วนใหญ่มาจากการที่การแสดงผลของมะเร็งนั้นค่อนข้างช้า กว่าจะตรวจเจอเซลล์มะเร็งนั้นก็พัฒนาจนยากที่จะรักษา และเทคโนโลยีในการตรวจหามะเร็งนั้นใช้ระยะเวลาที่นานและมีค่าใช้จ่ายที่สูงทำให้การตรวจหาเชื้อมะเร็งไม่ทั่วถึงทุกกลุ่มประชากร จึงเป็นแนวทางที่คณะผู้พัฒนาโครงงานเล็งเห็นในการที่จะสร้างชุดตรวจมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัลอิลอยด์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชุดตรวจโคโรนาไวรัส โดยใช้หลักการเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนต์แอสเสย์ในการทดสอบโดยใช้แอนติเจนที่มีเซลล์มะเร็ง Chronic myeloid leukemia มาทดสอบการจับตัวกันแอนติบอดีที่ติดฉลากที่ได้จากการปลูกภูมิคุ้มกันในหนูขาว ซึ่งจะมีการจัดเตรียมไว้ 3 ชุดการทดลองได้แก่ Direct competitive ELISA (Ag capture) Indirect competitive ELISA (Ab capture) และ-Direct competitive ELISA (Ab capture) โดยจะนำทั้ง 3 ชุดการทดลองมาทดสอบหาความแม่นยำ ความไวในการตอบสนองต่อแอนติเจน และความถูกต้องในการตรวจหามะเร็ง การสร้างชุดตรวจมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัลอิลอยด์นี้เพื่อที่จะยกระดับการจัดการเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เพื่อเป็นชุดตรวจสอบหาเชื้อมะเร็งที่สามารถใช้งานได้จริงที่ใช้เวลาเพียงไม่นานอีกทั้งมีประสิทธิภาพในการตรวจหาเชื้อมะเร็งหรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้นำการตรวจสุขภาพประจำปีที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มประชากร