ความหลากหลายทางพันธุกรรมและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดสำคัญจากใบจามจุรี (Samanea saman (Jacq.) Merr.) ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธัญภัส ไตรวิทยากร, ฐาน มีลาภอุดมชัย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทรภร เจนสุทธิเวชกุล, ภูชิต โนนจุ้ย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ต้นจามจุรี เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ตระกูลถั่ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacq.) Merr. ชื่อสามัญสากลว่า Rain Tree, East Indian Walnut หรือ Monkey Pod เป็นพืชประจำถิ่นของแถบตอนเหนือของอเมริกาใต้ เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพูมีผลเป็นฝัก แบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดํา ในประเทศไทย ต้นจามจุรีถูกนำเข้ามาปลูกครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อประมาณปี 2443 ปัจจุบันมีปลูกกระจายทั่วประเทศ
จามจุรี เป็นไม้ที่ได้รับความสนใจและศึกษากันในหลายต่างประเทศ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยทั้งด้านการอนุรักษ์ และการนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านชีวภาพหรือชีวมวล และองค์ประกอบทางเคมีของจามจุรี รวมถึงการศึกษาคุณสมบัติด้านเป็นยาสมุนไพรของจามจุรีนอกจากนี้แล้ว ต้นจามจุรียังเป็นต้นไม้ประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ทำการอนุรักษ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูลเกี่ยวกับต้นจามจุรีในพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์ของประชากรจามจุรีในพื้นที่นั้น ยังไม่เคยมีรายงานไว้ หรือมีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งจำนวนประชากรของต้นจามจุรีดั่งเดิมในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีจำนวนลดลงอย่างมาก จึงเป็นที่มาของแนวคิดการศึกษาวิจัยโครงการนี้ โดยจะทำการสำรวจต้นจามจุรีภายในมหาวิทยาลัย ศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของต้นจามจุรีในมหาวิทยาลัย รวมถึงศึกษาทดสอบฤทธิ์การต้านแบคทีเรียของสารสำคัญที่สกัดจากใบจามจุรี โดยผลการศึกษาที่ได้จากโครงการนั้น จะเป็นฐานข้อมูลและแนวทางในการวางแผนการอนุรักษ์ต้นจามจุรีและการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากต้นจามจุรีในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป