การพัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำจากใบผักตบชวาเพื่อเพิ่มอัตราการรอดตายของข้าวไร่ในสภาวะขาดน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รุ่งอรุณ อรุณรัศมี, พิมพ์ลภัส อัมพรดิษฐ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะมาศ เจริญชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงาน เรื่อง การพัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำจากใบผักตบชวาเพื่อเพิ่มอัตราการรอดตาย
ของข้าวไร่ในสภาวะขาดน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำจากใบผักตบชวา และศึกษาลักษณะทางกายภาพและอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ที่เคลือบด้วยสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำ โดยทำการสกัดเซลลูโลสจากใบผักตบชวา แล้วนำมาผสมกับส่วนผสมของสารเคลือบเมล็ดพันธุ์โดยใช้พลาสติไซเซอร์ 2 ชนิด ได้แก่ กรดซิตริก และกลีเซอรอล และใช้ปริมาณเซลลูโลสที่แตกต่างกัน คือ 1, 1.5 และ 2 กรัม ต่อน้ำ 50 มิลลิลิตร หลักจากนั้นนำไปทดสอบความสามารถในการอุ้มน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ชนิดของพลาสติไซเซอร์ และปริมาณเซลลูโลสจากผักตบชวาที่แตกต่างกัน มีผลทำให้สารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำจากใบผักตบชวา มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่างกัน โดยสูตรสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำที่เหมาะสมที่สุด คือ ใช้กรดซิตริกเป็นพลาสติไซเซอร์ 0.5 กรัม เซลลูโลสจากใบผักตบชวา 2 กรัม และน้ำกลั่น 50 มิลลิลิตร ทำให้สารเคลือบมีความสามารถในการอุ้มน้ำ เท่ากับ ร้อยละ 46.59 ± 5.66 โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เคลือบด้วยสารเคลือบในสูตรที่เหมาะสม มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.62 ผิวเปลือกของเมล็ดมีลักษณะเงาและเป็นมันวาว มากกว่าเมล็ดข้าวที่ไม่ได้เคลือบ และหากนำเมล็ดไปแช่น้ำก่อนเคลือบเมล็ด จะทำมีดัชนีการงอก เท่ากับ 26.80 ± 0.35 ซึ่งมีค่ามากกว่าการแช่น้ำหลังเคลือบเมล็ด (19.21 ± 1.44) อีกทั้งการปลูกข้าวไร่ที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่เคลือบสารเคลือบเมล็ดพันธุ์อุ้มน้ำในสภาวะขาดน้ำ จะทำให้ต้นข้าวมีดัชนีการงอกมากกว่าการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ปกติ