การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากผัก โดยปราศจากกลูเตน นม และไข่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนากร รักตน, ลักขิกา สุขพันธ์, จุฑามาศ แซ่อุ่ย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กีรติ กุลวานิชไชยนันท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนนิยมรับประทานขนมขบเคี้ยว ซึ่งส่วนใหญ่ขนมขบเคียวทำจากแป้งสาลี ในแป้งสาลีนั้นมีกลูเตนเป็นองค์ประกอบ และคนบางกลุ่มมีอาการแพ้แป้งสาลีเนื่องจากกลูเตน (Gluten) นม และไข่ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักไม่รับประทานผักเพราะมีรสชาติขมและกลิ่นเหม็นเขียว เช่น มะระ ผักชี มะเขือเทศ เป็นต้น และจากการสำรวจการรับประทานของขนมขบเคี้ยวในปีพ.ศ.2559 ถึง ปีพ.ศ.2562 พบว่าตลาดของขนมขบเคี้ยวมีอัตราจำนวนการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี จากส่วนแบ่งของตลาดของขนมขบเคี้ยว มีมันฝรั่งเป็นอันดับหนึ่งในด้านการบริโภคมากที่สุด และผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดเป็นอันดับที่มีการบริโภคน้อยที่สุด
อาการของผู้แพ้กลูเตน (Gluten) จะมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อารมณ์แปรปรวน เกิดภาวะขาดสารอาหาร ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลดผิดปกติ และลักษณะอุจจาระผิดปกติ
อาการของผู้แพ้นม จะมีอาการอาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีมูกหรือเลือดปน อาการขาดสารอาหาร ผื่นลมพิษ นูนเป็นปื้น อาการบวมที่ตา ริมฝีปาก น้ำมูกไหล จาม คันตา น้ำตาไหล ไอ แน่นคอ หายใจไม่สะดวก หอบ เป็นต้น
อาการของผู้แพ้ไข่ จะมีอาการ อาการบวม ลมพิษ ผื่นแดงหรือผิวหนังอักเสบ ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงหวีด น้ำมูกไหล จามหรือมีอาการคัดจมูก ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน น้ำตาไหล คันตาหรือตาบวม เวียนศีรษะหรือเป็นลม และหัวใจเต้นเร็ว
เนื่องจากคนได้ปัจจุบันไม่ชอบรับประทานผักแต่ผักมีประโยชน์มาก โดยมีสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมากมายหลายชนิด ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยในการฟอกเลือด และช่วยรักษาโรคได้
ผู้พัฒนาจึงเห็นว่าขนมขบเคี้ยวจากผัก โดยปราศจากกลูเตน (Gluten) นม และไข่ เพื่อให้กับคนที่มีอาการแพ้กลูเตน (Gluten) นม และไข่ สามารถรับประทานได้ โดยใช้ มะระ ผักชี มะเขือเทศ เป็นองค์ประกอบ เป็นต้น และผู้พัฒนาจึงต้องการตอบสนองให้กับผู้บริโภค