การศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวและกาบกล้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย สนประเทศ, ชวัลลักษณ์ อันเตวาสิก, ธนกมล โคทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อาทิตยา แก้วกำพล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านของโลก ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตแต่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การขนส่งผลไม้ส่งออก ที่ต้องใช้วัสดุกันกระแทกสังเคราะห์ในการป้องกันความเสียหาย วัสดุเหล่านั้นส่งผลให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากและขั้นตอนการทำลายก่อให้เกิดมลพิษต่างๆ เพื่อช่วยลดมลพิษต่างๆ คณะผู้จัดทำจึงได้สนใจและหาแนวทางในการแก้ไขโดยทำการศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุกันกระแทกผลไม้จากฟางข้าวและกาบกล้วย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาวัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวและกาบกล้วย นอกจากนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวและกาบกล้วยกับวัสดุกันกระแทกสังเคราะห์ คณะผู้จัดทำได้มีการแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ การศึกษาและพัฒนาวัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวและกาบกล้วย การทดสอบประสิทธิของวัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวกาบกล้วยและวัสดุกันกระแทกสังเคราะห์ และการคำนวณเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวและกาบกล้วยกับวัสดุกันกระแทกสังเคราะห์โดยวิธี Compound Pendulum และเครื่อง Texture Analyzer ผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า วัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวกาบกล้วยสามารถกันกระแทกได้เทียบเท่ากับตาข่ายโฟมหรือวัสดุกันกระแทกสังเคราะห์ โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาตรความช้ำและพลังงานกระแทกจากการทดสอบของทั้งสามวัสดุนั้น วัสดุกันกระแทกจากกาบกล้วยสามารถป้องกันความเสียหายของผลไม้ได้ดีกว่าวัสดุกันกระแทกจากฟางข้าวและวัสดุกันกระแทกสังเคราะห์ ด้วยค่าปริมาตรความช้ำเฉลี่ยที่น้อยที่สุดคือ 1224.06±279.06 ตารางมิลลิเมตร แต่ค่าเฉลี่ยของความเค้นและความเครียดจากการทดสอบของทั้งสามวัสดุตาข่ายโฟมหรือวัสดุกันกระแทกสังเคราะห์มีความยืดหยุ่นมากกว่าทั้งหมด โดยดูจากค่าความเครียดที่มากที่สุดคือ 0.03846153±0.00