การพัฒนาเครื่องวัดการดูดกลืนแสง แบบลดต้นทุนโดย บอร์ด arduino uno r4 wifi เพื่อให้เหมาะสำหรับภาคการเกษตร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เมย์ภาวินท์ บุราณ, ธีร์ภาวินท์ บุราณ, ภพพิพัฒน์ คำปวน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กุลวรรธน์ อินทะอุด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษานั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเยาวชน ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการศึกษาในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายรูปแบบรวมถึงการศึกษาภายนอกห้องเรียน แต่ทักษะการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์นั้นยังคงจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน เนื่องจากปัจจัยทางอุปกรณ์ที่เฉพาะทางและยังรวมไปถึงทักษะที่ไม่สามารถหาได้จากการเรียนรู้แต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงอุปกรณ์ที่ต้องการนั้นมีราคาที่สูง ซึ่งในบางโรงเยนยังมีข้อจำกัดด้าน

งบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆที่สำคัญต่อการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคโนโลยีเครื่อง spectrophotometer (เครื่องวัดการดูดกลืนแสง) เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วัดปริมาณการดูดกลืนรังสีของสารในช่วงคลื่นรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และแสงที่มองเห็น (VIS) ที่มีความยาวคลื่น 190-1000 นาโนเมตร การทำงานของเครื่องวัดการดูดกลืนแสงอาศัยกฎของ Beer-Lambert ซึ่งระบุว่าค่าการดูดกลืนแสงของสารจะแปรผัน

ตามอัตราส่วนกับปริมาณโมเลกุลที่มีการดูดกลืนแสงในตัวอย่าง เมื่อสารมีปริมาณมากขึ้น ค่าการดูดกลืนแสงจะสูงขึ้นด้วยในปัจจุบันเครื่อง spectrophotometer ในท้องตลาดเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีผู้ขายน้อยร้าย

จึงส่งผลให้เครื่องนี้มีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับงบประมาณของแต่ละโรงเรียน เป็นผลให้ไม่สามารถศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร พวกเราคณะผู้จัดทำมีความเห็นว่าเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์นี้มีความสำคัญต่อการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ จึงมีความต้องการประดิษฐ์เครื่อง spectrophotometerในงบประมาณที่ต่ำ แต่ยังคงประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับเครื่องspectrophotometer จากบริษัทที่มีราคาสูง เพื่อให้โรงเรียนสามารถ

เข้าถึงได้อย่างแพร่หลายและสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจในอนาคตได้