การใช้ทฤษฎีเพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาสารเชิงซ้อน Mn, Ru และ Ir ในปฏิกิริยา Deoxygenative hydrogenation ของ Amide

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชญานิษฐ์ ทางรัตนสุวรรณ, ภาณัชชา ลิ่มกาญจนโชติ, ณัฐวรา อุดมลาภสกุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สาโรจน์ บุญเส็ง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

สารที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็นเอมีน (Amine) เป็นสารที่มักถูกใช้ในการผลิตยาและอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ซึ่งหนึ่งในปฏิกิริยาที่ใช้ในการสังเคราะห์สารประเภทนี้คือปฏิกิริยา Deoxygenative hydrogenation เปลี่ยนสารที่มีหมู่ฟังก์ชันเอไมด์ (Amide) เป็นเอมีน โดยการแทนที่อะตอม O (C=O) ด้วยอะตอม H จำนวน 2 อะตอม และใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นสารเชิงซ้อนโลหะชนิด pincer โดยตัวเร่งปฏิกิริยาในงานวิจัยที่ผ่านมาได้แก่ สารเชิงซ้อน pincer ที่มีโลหะอะตอมกลางเป็น Mn, Ru และ Ir (Mn, Ru และ Ir -pincer complex) โดยในงานวิจัยได้มีการค้นพบกลไกการเกิดปฏิกิริยา Deoxygenative hydrogenation ทั้งยังพบว่าปฏิกิริยาที่ใช้ Mn-pincer complex เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุด ดังนั้นโครงงานนี้จึงจะศึกษาความแตกต่างระหว่างปฏิกิริยา Deoxygenative hydrogenation ที่มี Mn, Ru และ Ir -pincer complex เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยใช้วิธีการจำลองทางโมเลกุลในการคำนวน ซึ่งจะเปลี่ยนเพียงชนิดโลหะอะตอมกลางเท่านั้น เพื่อหาว่าเหตุใดตัวเร่งปฏิกิริยาทั้ง 3 แบบให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ไม่เท่ากัน และเหตุใดตัวเร่งปฏิกิริยา Mn จึงให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงที่สุด โดยใช้วิธีคำนวณแบบ Density Functional Theory (DFT) ในการศึกษา ซึ่งระเบียบวิธีที่ใช้ได้แก่ B3LYP BP86 HSEH1PBE MPW1PW91 WB97XD PBEPBE PBE1PBE M06 และ B3PW91 เบซิสเซตสำหรับโลหะอะตอมกลางได้แก่ SDD และ LANL2DZ ส่วนอะตอมอื่นๆ จะใช้เบซิสเซต 6-31++G(d,p) ในการหาระเบียบวิธีและเบซิสเซตที่เหมาะสมที่สุดในการศึกษาสารเชิงซ้อน pincer ทั้ง 3 แบบ เพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ในการศึกษาและออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาต่อไป