การศึกษาผลการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตจากกระดองปลาหมึกในการพัฒนายางฟองน้ำชีวภาพเพื่อประยุกต์ใช้เป็นวัสดุดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ตาติยา มสุการัตน์, มนัญญา แสงสมนึก
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขุนทอง คล้ายทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 โดยการเพิ่มขึ้นของปริมาณแก๊สคาร์บอนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศ อย่างไรก็ตามแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นั้นมีประโยชน์หลายในเชิงอุตสาหกรรม จึงเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โซเดียมคาร์บอเนตในการพัฒนายางฟองน้ำเพื่อใช้เป็นวัสดุดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเตรียมน้ำยางคอมปาวด์ (Latex Compound) จากน้ำยางข้นธรรมชาติที่ใส่สารตัวเติม แล้วนำมาตีในด้วยตะกร้อไฟฟ้าเพื่อให้เกิดฟองขึ้นรูปเป็นแผ่นยางฟองน้ำ จากนั้นจึงนำมาแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตที่มีความเข้มข้น 0.000 M 0.925M และ 1.850 M ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะทำได้โดยการวัดค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเริ่มต้น และวัดค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศหลังจากตั้งยางฟองน้ำทิ้งไว้เป็นเวลา 15 นาที โดยจะทำการทดสอบแบบระบบปิดในบีกเกอร์ และวัดค่าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเครื่อง Smart Measure ผลการวิจัยพบว่า แผ่นยางฟองน้ำที่นำมาแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตที่มีความเข้มข้น 1.850 M มีประสิทธิภาพในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด ซึ่งดักจับแก๊สได้ 34.3 ppm รองลงมาเป็น แผ่นยางฟองน้ำที่นำมาแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตที่มีความเข้มข้น 0.925 M และ 0.000 M ตามลำดับ
คำสำคัญ: ยางฟองน้ำ, การดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์, โซเดียมคาร์บอเนต