การพัฒนาเส้นใยธรรมชาติจากใบอ้อยและใบสับปะรดเพื่อผลิตหน้ากากผ้า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขวัญจิรา บุญโยดม, คชรักษ์ เที่ยงคาม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มุกดา หอมมาลี, นภาพร เทียมทะนง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนของเส้นใยใบอ้อย เส้นใยใบสับปะรดและเส้นใยฝ้ายที่เหมาะสมในการผลิตหน้ากากผ้าและเปรียบเทียบประสิทธิภาพที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของหน้ากากผ้าที่ได้จากเส้นใยใบอ้อย เส้นใยใบสับปะรดและเส้นใยฝ้ายผสมในอัตราส่วนที่แตกต่างกันโดยการแยกเส้นใยใบอ้อยด้วยวิธีทางเคมีโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 10% w/w อัตราส่วนมวลใบอ้อยต่อมวลสารละลาย 12 : 25 ต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง จากนั้นนำใบที่ผ่านการต้มมาขูดสีเขียวออก จากนั้นนำเส้นใยมาแช่น้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดแยกเส้นใยออกมาผึ่งแดดให้แห้ง และการแยกเส้นใยใบสับปะรดแด้วยวิธีเชิงกล (ใช้เครื่องขูดใบ) จากนั้นนำเส้นใยที่ได้มาล้างน้ำสะอาดก่อนจะแช่ในน้ำยาปรับผ้านุ่ม (2%wt/v) ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จากนั้นนำเส้นใยมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วเป่าเส้นใยให้แห้งด้วยเครื่องเป่าลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นำเส้นใยใบอ้อยและเส้นใยใบสับปะรดมาตัดให้มีความยาว 5 เซนติเมตร แล้วนำมาผสมกับเส้นใยฝ้ายที่อัตราส่วนดังนี้ 1. อัตราส่วนระหว่างเส้นใยใบอ้อยต่อเส้นใยฝ้ายโดยน้ำหนัก คือร้อยละ 10:90, 20:80 และ30:70 2. อัตราส่วนระหว่างเส้นใยใบสับปะรดต่อเส้นใยฝ้ายโดยน้ำหนัก คือร้อยละ 10:90, 20:80 และ30:70 และ 3. อัตราส่วนของเส้นใยใบอ้อยต่อเส้นใยใบสับปะรดต่อเส้นใยฝ้ายโดยน้ำหนัก คือ ร้อยละ 5:5:90, 10:10:80 และ15:15:70 แล้วนำมาปั่นเป็นเส้นด้ายด้วยวิธีการปั่นด้ายแบบวงแหวน (Ring spinning) จากนั้นทอเป็นผืนผ้าด้วยวิธีภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้าน แล้วสังเกตลักษณะทางกายภาพและทดสอบประสิทธิภาพได้แก่ ทดสอบแรงดึงสูงสุดและการยืดของผ้าที่แรงดึงสูงสุดโดยวิธีดึงเต็มหน้ากว้างการยืดตัวก่อนขาดของผ้าด้วยเครื่อง Testerile Tester, ทดสอบการต้านการเปียกน้ำของผิวโดยวิธีพ่นน้ำด้วย Spray device แล้วเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานและทดสอบความหนาของผ้าด้วย Micrometor ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ เพิ่มมูลค่าให้แก่ใบอ้อยและใบสับปะรด, ได้หน้ากากผ้าจากเส้นใยธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับการใช้งานจากการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสม และเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอโดยใช้เส้นใยธรรมชาติ