ถังขยะระบบ Vacuum

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พชรภูมิ สมารังคสุต, เศรษฐพงศ์ บุญตาเเสง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จิราภา ยอดเพชร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนเมืองใหญ่ๆที่ผู้คนอาศัยอยู่ตามคอนโดก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาหลายด้าน

ปัญหาขยะมูลฝอยก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ยังต้องการการแก้ไข

และเป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างมากทั้งต่อสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมืองและต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

(สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2546 )

ประเทศไทยสามารถจัดการกับขยะมูลฝอยโดยการมีรถเก็บขยะจากเทศบาลมาเก็บขยะในแต่ละวัน

แต่นั่นก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาขยะมูลฝอยที่ทำให้เกิดมลพิษในอากาศได้

กองขยะมูลฝอยขนาดมหึมาของเทศบาล จะเกิดการหมักโดยจุลินทรีย์ในกองขยะทำให้เกิดก๊าซต่างๆ

เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากไม่มีการกำจัดก๊าซเหล่านี้อย่างเหมาะสม ก๊าซที่เกิดขึ้นได้แก่ มีเทน(Methane:

CH 4 ) คาร์บอนไดออกไซด์(carbon dioxide: CO 2 ) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulphide: H 2 S) เป็นต้น

และยังมีฝุ่นละอองจากกองขยะ ก่อให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง

แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยขยะมูลฝอยนั้น สามารถแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของขยะได้เป็น

รหัสโครงงาน R65.63

ชื่อทีม ฉลามภูมิและฉลามคุณห์

4 ประเภทคือ 1. ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) 2. ขยะรีไซเคิล (Recyclable

waste) 3. ขยะอันตราย (Hazardous waste) 4. ขยะทั่วไป (General waste) (กรมควบคุมมลพิษ, 2554)

โดยขยะแต่ละประเภทนั้นก็จะมีการจัดการที่ต่างกันออกไป

แต่ขยะที่ก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดคือขยะทั่วไปเนื่องจากมีปริมาณมากและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อย

ละ 2 ต่อปี (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ,2545)

ซึ่งปัจจุบันภาครัฐแก้ปัญหานี้โดยการกำหนดการทิ้งขยะแต่ละประเภทตามสีของถังขยะ

การเผาในเตาเผาและฝังกลบซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไม่สามารถช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ก่อให้เกิดมลพิษ

ได้ในปัจจุบันและ

วิธีการหนึ่งที่สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้คือการนำหลักการของสุญญากาศมาใช้ในการทำให้อากาศที่อยู่ใน

ถุงดำนั้นออกมาจนหมดจนกระทั่งเป็นสุญญากาศแต่วิธีการนี้ต้องใช้ปั้มที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีต้นทุนสูง

วิธีการประยุกต์นั้นทำได้โดยการนำ vacuum pump

ชนิดเดียวกันกับเครื่องดูดฝุ่นมาเป็นปั้มในการดูดอากาศออกผ่านการใช้ร่วมกับปากเป็ดดูดอากาศที่จะช่วยเพิ่ม

แรงดันของอากาศที่ถูกดูดออกให้ออกได้เร็วขึ้น

จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ผู้ศึกษาเกิดแนวคิดที่จะนำ vacuum pump

หรือปั้มดูดสุญญากาศมาใช้ในการลดปริมาตรขยะมูลฝอยเมื่อบรรจุใส่ถุงดำแล้ว

โดยการออกแบบและประดิษฐ์ถังขยะระบบvacuum เพื่อลดปริมาตรของขยะในถุงดำ

ช่วยลดการเกิดการหมักโดยจุลินทรีย์ในกองขยะที่ก่อให้เกิดก๊าซที่เป็นพิษต่อร่างกายด้วยหลักการของสุญญากา

ศอีกทั้งประหยัดต้นทุนในการใช้งานและประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่สนใจคือ

คนที่อาศัยอยู่ตามคอนโดเพราะพื้นที่ในการเก็บขยะในห้องพักมีน้อย

จึงน่าจะมีความเหมาะสมต่อถังขยะระบบvacuum