การผลิตเม็ดชาไข่มุกเพื่อสุขภาพจากบุกสกัดผสมเสาวรส
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชญานิศ ชายเมฆ, ชินกฤต สถิตย์กุล, วณัฐฐิตา นวลคล้าย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สะเราะ นิยมเดชา, เกศรินทร์ ชูม้อง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันเครื่องดื่มชาที่ผสมไข่มุก หรือเครื่องดื่มต่างๆ ที่มีไข่มุกประกอบ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่ดี หวาน อร่อย โดยส่วนใหญ่แล้วเม็ดไข่มุกนิยมทำมาจาก ผงวุ้น ซึ่งเป็นสารพวกแป้ง อไมโลสและอไมโลเพคตินที่มีสูตรโครงสร้างประกอบด้วนน้ำตาลกลูโคสส ซึ่งไม่มีสารอาหารอื่นๆ จำพวกพวกวิตามินเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หรือบางส่วนนิยมทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีสารพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก มีพลังงานสูง ทำให้เป็นการเพิ่มแคลอรี่จึงทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วน นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เม็ดไข่มุกบางชนิดนิยมทำมาจากสารสกัดจากบุกซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ร่างกายไม่มีเอนไซม์ที่จะมาย่อย จึงมีคุณสมบัติคล้ายกับไฟเบอร์ ทำให้ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย โดยบุกประกอบไปด้วย วุ้นคอนยัค (konjac mannan) เป็นสารวุ้นที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นเมือกเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไม่ย่อยและดูดซึม แต่จะทำหน้าที่เป็นใยอาหารแตกต่างจากวุ้นกาแลกโตสที่ได้จากเมล็ดพืช หรือวุ้นคาราจีแนนที่ได้จากสาหร่ายทะเล นอกจากนี้การเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้กับเม็ดชาไข่มุกสามารถทำได้โดยการเติมสารจำพวกวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มลงไป โดยอาจจะเติมสารนั้นลงไปโดยตรง หรือเติมผักผลไม้ที่มีสารดังกล่าวลงไปแทน ซึ่งผักและผลไม้ที่มีวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ มะเขือเทศ แครอท กล้วย ส้ม และเสาวรส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสาวรส ซึ่งมีวิตามินเอ สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารฟลาโวนอยด์อย่างเบต้าแคโรทีนและคริบโทแซนทินเบต้า (cryptoxanthin-ß) ทำให้ช่วยบำรุงสายตา มีวิตามินซีและโพแทสเซียมสูง ให้พลังงานต่ำ โดยพบว่าเสาวรส 100 กรัม ให้พลังงานเพียงแค่ 97 แคลอรี เสาวรสสามารถกินได้ทั้งส่วนเนื้อและเมล็ด โดยเมล็ดจะมีลักษณะกรุบกรอบซึ่งเหมาะที่จะเพิ่มความกรุบกรอบในเม็ดชาไข่มุก ดังนั้นในโครงงานวิจัยชิ้นนี้ ต้องการผลิตเม็ดไข่มุกที่มีคุณค่าทางอาหารโดยใช้สารสกัดจากบุกร่วมกับการใช้เสาวรส เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนที่รักสุขภาพและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบุกและเสาวรสซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของไทย โดยในการศึกษาจะหาวิเคราะห์หาคุณค่าทางอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และทดสอบรสชาติโดยประเมินจากความชอบของผู้บริโภค ของเม็ดไข่มุกที่ผลิตขึ้นเปรียบเทียบกับเม็ดไข่มุกที่มีขายทางการค้า และวิเคราะห์ผลโดยใช้วิธีการทางสถิติ