การศึกษาชนิดของจุดบนดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการลุกจ้า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รัญชิดา พลวงศา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิวัฒน์ วรสาร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องการศึกษาชนิดของจุดบนดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการลุกจ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจุดบนดวงอาทิตย์ในวัฏจักรสุริยะที่ 24 (ค.ศ. 2008 – 2018) กับการลุกจ้า (Flares) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Hale class ตำแหน่งละติจูด และพื้นที่ของจุดบนดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการลุกจ้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสเกิดการลุกจ้ากับขนาดพื้นที่จุดบนดวงอาทิตย์ ในระดับการลุกจ้า C , M และ Xโดยใช้ข้อมูลจาก www.Solarmonitor.org ในวัฏจักรสุริยะที่ 24 (ค.ศ. 2008 – 2018) มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดบนดวงอาทิตย์ที่ส่งกับการลุกจ้า
ผลการศึกษาพบว่าจำนวนจุดบนดวงอาทิตย์มีแนวโน้มแปรผันตรงกับการลุกจ้าที่เกิดขึ้นในแต่ละปีเมื่อจุดบนดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีโอกาสเกิดการลุกจ้าที่มีความรุนแรงมากขึ้น ในแต่ละ Hale class การลุกจ้าเกือบทั้งหมดจะที่ละติจูด 10 – 20 องศาเหนือและใต้ โดยไม่พบว่าเกิดที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ ใน Hale class βγδ มีการลุกจ้ารุนแรงมากกว่า Hale class อื่น ซึ่งการลุกจ้าใน Hale class βδ, Hale class βγ และ Hale class βγδ แปรผันตรงกับขนาดพื้นที่จุดบนดวงอาทิตย์ แต่การลุกจ้าใน Hale class α และ Hale class β นั้นแปรผกผันกับขนาดพื้นที่จุดบนดวงอาทิตย์ และเมื่อพิจารณาเฉพาะในแต่ละระดับการลุกจ้า พบว่า เมื่อขนาดพื้นที่จุดบนดวงอาทิตย์ใหญ่ขึ้นส่งผลให้การลุกจ้าในระดับ M และ X จะมีโอกาสเกิดมากขึ้น แต่การลุกจ้าในระดับ C จะมีโอกาสเกิดน้อยลง
คำสำคัญ: จุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspots), การลุกจ้า (Flares), ระดับการลุกจ้า, Hale class