การศึกษาตัวทำละลายในการสังเคราะห์เส้นใยนาโนจากเซลลูโลสของผักตบชวาเพื่อบำบัดน้ำเสีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฟ้าปภาทิพย์ คงธนชโยพิทย์, จิราพัชร กุลวงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ดวงดาว มงคลสวัสดิ์, มีนารัตน์ วงศ์เสน่ห์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในอดีตมนุษย์สามารถนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ ต่างจากปัจจุบันที่เกิดปัญหาด้านคุณภาพของน้ำ หรือเกิดมลพิษทางน้ำจนไม่สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน เป็นต้น โดยคุณสมบัติของน้ำที่เป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากที่สุดก็คือ น้ำบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารพิษเจือปน ดังนั้นจึงควรกำจัดบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยน้ำลงสู่แม่น้ำ เพื่อเป็นการลดการเกิดน้ำเสียเพิ่มขึ้นได้
พอลิเมอร์ธรรมชาติ เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ ได้แก่ โปรตีน แป้ง ยางธรรมชาติ และเซลลูโลส ดังนั้นผู้คณะผู้จัดทำจึงสังเคราะห์เส้นใยนาโนจากพอลิเมอร์ที่อยู่ในธรรมชาติ คือสารพอลิเมอร์จากเซลลูโลสที่มาจากผักตบชวา ซึ่งผักตบชวาเป็นวัชพืชในน้ำที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีสมบัติในการดูดซับ วัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดข้างต้นง่ายต่อการนำมาใช้ และมีเซลลูโลสที่เหมาะสมในการสังเคราะห์พอลิเมอร์
ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาโครงงานการสังเคราะห์เส้นใยนาโนจากเซลลูโลสที่ได้มาจากผักตบชวา โดยการศึกษาการสกัดเซลลูโลสจากผักตบชวาในตัวทำละลายต่างเพื่อศึกษาการขึ้นเป็นเส้นใยนาโนเพื่อบำบัดน้ำเสียโดยดูดซับสารพิษที่เจือปนในน้ำเสียของเส้นใยนาโนที่ผลิตขึ้นโดยกระบวนการ Electrospinning เพื่อลดปริมาณสารตกค้างในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพสูงสุด