ศึกษาพัฒนากระดาษดูดซับแก๊สเอทิลีนจากเปลือกข้าวโพดและถ่านกัมมันต์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รัตนมณี ชัยชนะ, ณัฐวุฒิ ประชามอญ, สโรธร ปวงชาติ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บังอร นิลกิจ, พร พันธ์สุข
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงมีการขนส่งพืชผักทางการเกษตรไปยังต่างประเทศและในประเทศ ขณะขนส่งผลไม้ได้รับความบอบช้ำ อาจเกิดจากแรงกระแทกระหว่างการขนส่ง และผลไม้มีการผลิตแก๊สเอทิลีนทำให้ผลไม้สุกก่อนถึงมือผู้บริโภค ในปัจจุบันได้นำสารเข้ามาใช้ในการชะลอความสุกของผลไม้ เช่น การเคลือบ การฉายรังสี ใช้สารดูดซับความชื้น แผ่นดูดซับแก๊สเอทิลีน จากการศึกษาว่าเส้นใยสามารถดูดซับแก๊สเอทิลีนเพื่อชะลอการสุกของผลไม้ได้ เช่น เส้นใยจากเส้นใยข้าวโพด ฟางข้าว และกาบกล้วย และมีสารบางชนิดที่สามารถดูดซับแก๊สเอทิลีนได้ คือ ถ่านกัมมันต์และด่างทับทิม และสารสังเคราะห์1-MCP ผลไม้ที่ส่งขายตลอดปีในท้องถิ่นของเราคือกล้วย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ตามท้องตลาดบางครั้งกล้วยก็มีจำนวนมากและบางครั้งก็มีจำนวนน้อย ราคากล้วยก็ไม่คงที่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบทั้งผู้ขายและผู้บริโภค จึงมีการศึกษาเส้นใยจากเปลือกข้าวโพด ลักษณะของเส้นใยจากเปลือกข้าวโพด เป็นเส้นใยยาว สามารถทำเป็นแผ่นกระดาษได้ และสามารถดูดซับแก๊ส สาร และความชื้นได้ ดังนั้น นำเอาเส้นใยข้าวโพดมาใช้ดูดซับถ่านกัมมันต์ และถ่านกัมมันต์สามารถดูดซับแก๊สเอทิลีนได้ การใช้แผ่นดูดซับแก๊สเอทิลีนจากเส้นใยข้าวโพดสามารถชะลอความสุกของกล้วยน้ำว้าและกล้วยหอม ทำให้เกษตรมีทางเลือกในการใช้สารหรือวัสดุในการชะลอการสุกของผักผลไม้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ผักผลไม้ถึงมือผู้บริโภคได้มีคุณภาพ