ศึกษาเปรียบเทียบตัวเร่งปฏิกิริยาและประสิทธิภาพของไบโอดีเซลจากน้ำมันยางนา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภานุวัฒน์ คณาชอบ, กฤตพล พละศรี, เอกภพ โศรกศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พร พันธ์สุข, บังอร นิลกิจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนตระกูลประเทืองวิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในสถานการณ์ปัจจุบันวิกฤตการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลทันทีต่อราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไทยทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงอีกทั้งเกษตรกรที่ใช้น้ำมันในการทำการเกษตรก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรโดยขณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะสร้างแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงทดแทนที่ยั่งยืนและมั่นคงรอบด้านสามารถนำไปใช้ได้จริงและมีประสิทธิภาพโดยพวกเราจะผลิดน้ำมันจากต้นยางนาที่มีอยู่ในชุนชนให้เกิดประโยชน์โดยพวกเราจะทำการเจาะเอาน้ำมันจากต้นยางนาจากนั้นเอาไปแยกเอาเฉพาะน้ำมันโดยใช้เฮกเซนในอัตตราส่วน1:1 :ซึ่งน้ำมันถูกแยกออกจากส่วนที่เป็นน้ำยาง โปรตีนคาร์โบไอเดรต และส่วนอื่นๆที่ไม่ละลายในเฮกเซน จากนั้นกลั่นเฮกเซนออกจากน้ำมันและนำน้ำมันไปผลิตไบโอดีเซลนำไปวิเคราะห์หากรดไขมันอิสระโดยวิธีไทเทรต จากนั้นนำน้ำมันที่กลั่นเฮกเซนออกแล้วไปทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันโดยใช้ NaOH และ KOH เพื่อเปรียบเทียบตัวเร่งที่เหมาะสมระหว่างเอทานอลกับน้ำมันยางในการผลิตใบโอดีเซล ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรบางส่วนนำน้ำมันยางนามาใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงในการทำการเกษตรโดยเกษตรกรได้นำน้ำมันยางนาไปผสมเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาใช้น้ำมันยางนาไปผสมกับน้ำมันดีเซลนั้นทำให้เกิดเขม่าควันและมีคราบไขมันในใส้กรองที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทำให้เกษตรกรสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

ดังนั้น ผู้จัดทำโครงงานจึงสนใจที่จะใช้น้ำมันยางนามาเเยกให้บริสุทธิ์และนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลที่มีคุณภาพใช้กับเครื่องยนต์ได้โดยใช้ปฏิกิริยา ทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น โดยมีเอทานอล(Ethanol) เป็นตัวทำปฏิกิริยาและใช้โพเเทสเซียมไฮดรอกไซด์ กับโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในการเเยกน้ำมันยางนาออกจากองค์ประกอบอื่นด้วยตัวทำละลาย และหาสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยา ในส่วนปริมาณน้ำมัน เอทานอล ตัวเร่ง ปฏิกิริยา อุณหภูมิ และเวลาที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยา เพื่อผลิตไบโอดีเซลที่สามารถทดเเทนน้ำมันดีเซลได้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับชุมชนและสร้างองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากต้นยางนา ในด้านการสร้างคุณค่าสร้างรายได้ให้ชุมชน และพัฒนาขยายผลสู่การเป็นพลังงานทางเลือกต่อไป