การเพาะเลี้ยงและศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินสายพันธุ์แอฟริกาไนท์ครอเลอร์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐวุฒิ พรมกมล, นายวชิรวิทย์ มณีวงษ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มาฆภูมิ ชุมพลวงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อเพาะเลี้ยงและศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต ของไส้เดือนดินสายพันธุ์แอฟริกันไนท์ครอเลอร์(AF). ซึ่งเป็นมี่ทราบกันว่าไส้เดือนดินเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งสามารถนำมาหารายได้ ได้เช่นมูลไส้เดือนดินสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยและได้ราคาดีในตลาดแต่ในการเพาะเลี้ยงในตอนนี้ยังขาดการเพาะเลี้ยงที่มีความเหมาะสมในด้านของสภาพแวดล้อมที่ผู้เลี้ยงอาจไม่ได้ ศึกษาเกี่ยวกับความเหมาะสมทั้งสภาพที่อยู่ประเภทดินหรือแม้แต่ประเภทอาหารที่ไส้เดือนดินต้องกินเพื่อการเจริญเติบโตซึ่งการทดลองครั้งนี้จะแบ่งใส้เดือนออกเป็นสี่ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละสองกะละมัง รวมทั้งหมดเป็นจำนวนแปดกะละมัง โดย แบ่งไส้เดือนดินออกเป็นกะละมังละ 10 ตัวและแบ่งออกสองกะละมังเพื่อศึกษาดินโดยใช้ดินคนละประเภท คือดินร่วนและดินร่วมผสมกากมะพร้าว โดยให้อาหาร,พรมน้ำ และ เก็บไว้ในสถานที่ที่ได้รับแสงเท่าๆกันและแบ่งออกสองกะละมังเพื่อศึกษาอาหารโดยให้อาหารคนละประเภทคือมูลวัวและเศษผักผลไม้โดยใช้ดิน,พรมน้ำและเก็บไว้ ใน สถานที่ที่ได้รับแสงเท่าๆกันและแบ่งออกสองกะละมังเพื่อศึกษาความชื้นโดยควบคุมความชื้นให้แตกต่างกันโดยการพรมน้ำกะละมังแรกพรมอาทิตย์ละ2ครั้งอีก กะละมังหนึ่งพรมอาทิตย์ละ 1 ครั้ง (ครั้งละ150ml) โดยใช้ดิน,ให้อาหารและเก็บไว้ในสถานที่ที่ได้รับแสง เท่าๆกันและสุดท้ายแบ่งออกสองกะละมังเพื่อศึกษาแสงแดดโดยควบคุมการได้รับแสงแดดของแต่ละกะละมังโดยให้กะละมังแรกได้รับแสงแดดปกติ อีก กะละมังให้อยู่ในที่มืดไม่ได้รับแสงเลย โดยใช้ดิน,ให้อาหารและพรมน้ำเท่าๆกัน ซึ่งเมื่อโครงงานนี้สำเร็จคาดหวังว่าจะส่งผลให้ทราบถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์แอฟริกันไนท์ครอเลอร์ซึ่งจะทำให้มีการเพาะเลี้ยงที่ถูกต้องส่งผลให้มีความรวดเร็วในการเพาะเลี้ยงและยังสามารถต่อยอดการเลี้ยงไส้เดือนดินให้เป็นไปในเชิงพาณิชย์ได้