การบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือนโดยใช้หินภูเขาไฟ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวิชญาน์ สงึมรัมย์, อริยาพร ดวงหาคลัง, วชิรญาภรณ์ ภะคะโต
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วารินทร์ เสาร์ทอง, สุปราณี มงคลล้ำ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หินภูเขาไฟโครงสร้างภายในจะมีลักษณะเป็นรูพรุนจํานวนมาก จะทําหน้าที่เป็นสารกรอง ตามธรรมชาติ โดยใช้คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนไอออน และการจับตัวระหว่างอนุภาคสารกับผิวสัมผัสของหิน หินภูเขาไฟจึงเป็นวัสดุที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียจากครัวเรือน โดยกระบวนการกรอง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขนาดอนุภาคของหินภูเขาไฟในการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือน โดยนำหินมาบดให้ละเอียดและร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 10, 20, 30, 35 และ 50 เพื่อให้ได้ขนาดหินภูเขาไฟ คือ 1.40 – 0.85 มม., 0.85 – 0.60 มม., 0.60 – 0.50 มม., 0.50 – 0.30 มม. และ เล็กกว่า 0.30 มม. ตามลำดับ และเพื่อศึกษาความสูงของหินภูเขาไฟในคอลัมน์ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือน โดยความสูงของหินภูเขาไฟที่บรรจุในคอลัมน์ คือ 10 20 30 40 และ 50 เซนติเมตร วิเคราะห์คุณภาพน้ำก่อนการบำบัดและหลังการบำบัดด้วยหินภูเขาไฟ ได้แก่ ออกซิเจนละลายในน้ำ ฟอสเฟต ของแข็งทั้งหมด ค่าความเป็นกรด-เบส ค่าความโปร่งใสของน้ำ