การปรับปรุงคุณน้ำจากแหล่งน้ำที่รองรับพื้นที่ทางการเกษตร โดยใช้เส้นใยธรรมชาติร่วมกับการใช้พืชลอยน้ำบางชนิด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อาณิตา ผ่องศรี, อดิศักดิ์ จันทะไชย, อนุพงษ์ ขันแข็ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชุมพล ชารีแสน, วีระชัย วรรณวิชิต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดอนจานวิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาการปรับปรุงคุณน้ำจากแหล่งน้ำที่รองรับพื้นที่ทางการเกษตร โดยใช้เส้นใยธรรมชาติร่วมกับการใช้พืชลอยน้ำบางชนิด เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำที่รองรับพื้นที่เกษตรในเขตอำเภอดอนจาน และเพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงพืชลอยน้ำ(แหน) ที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพได้ ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพน้ำจากเส้นใยธรรมชาติ โดยการตรวจวัดคุณภาพน้ำ แล้วประดิษฐ์อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพน้ำจากเส้นใย 2 ชนิด ได้แก่ เส้นใยกล้วยและเส้นใยต้นกก เนื่องจากการสังเกตเห็นการใช้เส้นใยกล้วยเมื่อจมลงในน้ำปล่อยไว้ข้ามคืนจะมีตะกอนมาจับ และเมื่อนำเส้นใยต้นกกแห้งไปย้อมสี สามารถติดสีเป็นอย่างดี จึงนำมาทดลองปรับปรุงคุณภาพน้ำ พบว่าจากการศึกษาคุณภาพน้ำใน 5 จุดต่างๆได้แก่ หนองประดู่ หนองแคน หนองยูคา หนองพระพาย ห้วยโจด โดยตรวจวัดค่า EC TDS pH DO ความเค็ม อุณหภูมิ ไนเตรทและความโปร่งใส พบว่าแหล่งน้ำที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำได้แก่ หนองประดู่และหนองแคน เนื่องจากมีค่า DO ต่ำคือ 2.17 และ 2.83 มีปริมาณไนเตรทสูงที่สุดคือ 0.5 และ 2.5 มีความโปร่งใสของน้ำต่ำที่สุด เมื่อใช้อุปกรณ์ที่ประกอบเข้ากับเส้นใยทั้ง 2 ชนิด ปรับปรุงคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่รองรับพื้นที่ทางการเกษตรที่มีคุณภาพต่ำร่วมกับใช้พืชลอยน้ำ 2 ชนิดได้แก่แหนแดงและแหนเป็ดพบว่าคุณภาพน้ำหลังการเพาะเลี้ยงด้วยแหนทั้งสองชนิดมีคุณภาพดีขึ้นโดยการใช้น้ำจากหนองประดู่และหนองในเขตอำเภอดอนจานใช้เพาะเลี้ยงด้วยแหนทั้งสองชนิดทำให้ค่าDO และความโปร่งใสสูงขึ้นส่วนค่า EC TDS pH ความเค็ม อุณหภูมิ และไนเตรท มีปริมาณลดลงแสดงให้เห็นว่าน้ำจากหนองประดู่มีคุณภาพดีขึ้นและเมื่อวิเคราะห์ราคาขายแล้ว แหนแดงมีราคาขายที่ 123 บาทต่อกิโลกรัมส่วนแหนเป็ดมีราคาขายที่ 99 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้น ถ้าเกษตรกรหันมาใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำเพาะเลี้ยงแหนแดงนอกจากจะลดการใช้ปุ๋ยเคมีแล้วยังสามารถเพาะขายเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง