การพัฒนาสีย้อมเนื้อเยื่อพืชจาก สารสกัดหยาบของมังคุดด้วย นาโนซิงค์ออกไซด์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณิชารีย์ นิติกุล, วลัยวรรณ บุญก้อน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีระวุฒิ จันทะพันธ์, จินดา โพนะทา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาเนื้อเยื่อพืชในปัจจุบัน ทำได้โดยวิธีการตัดเนื้อเยื่อพืชแบบมือเปล่าและย้อมสีเซลล์เพื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เเละมีการย้อมสีเพื่อให้เห็นโครงสร้างเนื้อเยื่อพืชชัดเจนยิ่งขึ้น สีย้อมที่นิยมใช้คือสีซาฟรานินโอซึ่งมีจำหน่ายในราคาาสูง เเละไม่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม ทางผู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจที่จะทำการทดลองสกัดเเละประยุกต์ใช้สีย้อมเนื้อเยื่อพืชจากเเทนนินที่สกัดได้จากเปลือกมังคุด ศึกษาสีย้อมจากสีเเดงที่ได้จากเเทนนินทำปฏิกิริยากับสารวาลินนินกรดในกรดไฮโดรคลอริก เเละสีเขียวได้จากเเทนนินทำปฏิกิริยากับเฟอรืริกคลอไรด์ พร้อมทั้งพัฒนาความสามารถในการติดสีเนื้อเยื่อพืชด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ เพื่อต้องการสีย้อมเนื้อเยื่อพืชจากสารสกัดหยาบของเปลือกมังคุดที่ผสมนาโนซิงค์ออกไซด์ สามารถย้อมเนื้อเยื่อพืชได้ประสิทธิภาพดีกว่าหรือเทียบเท่ากับสีย้อมซาฟรานินโอเเละฟาสต์กรีน