อนุภาคนาโนจากเควอซิทินที่ตอบสนองต่อสภาวะขาดออกซิเจนเพื่อการตรวจหาและรักษามะเร็ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รุจิภา แสนศรีเชาว์พันธ์, ภัทราภรณ์ ยิ้มแย้ม, รัชชานนท์ มิ่งหมื่นไวย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มนรวัส เอี่ยมทอง, อัญญานี คำแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์จะมีความก้าวหน้าอย่างมากจนนำไปสู่แนวทางการรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมากมาย แต่ผู้ป่วยโรคนี้ยังมีอัตราการเสียชีวิตสูง และทางเลือกในการรักษายังคงมีอาการข้างเคียงมากมาย ดังนั้นเพื่อลดอาการข้างเคียงของยา และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ทางผู้จัดทำจึงสนใจที่จะพัฒนาวิธีการรักษาผ่านการรักษาแบบโฟโตไดนามิก (Photodynamic therapy) โดยเลือกใช้ Cy7 สำหรับเป็นสารไวแสง (Photosensitizer) อย่างไรก็ตาม Cy7 ยังคงมีข้อเสียในเรื่องของความเสถียร จึงส่งผลให้มีการใช้งานในทางชีวภาพที่ค่อนข้างจำกัด ผู้จัดทำจึงต้องการพัฒนาความสามารถของ Cy7 โดยทำให้อยู่ในรูปอนุภาคนาโนจากเควอซิทิน ซึ่งเป็นสารจำพวกฟลาโวนอยด์ที่มีความเป็นพิษต่อร่างกายน้อย และเพิ่มความเสถียรด้วย polyethylene glycol (PEG) ผลการทดลองพบว่า อนุภาคนาโนเควอซิทินสามารถแตกตัวในสภาวะที่เป็นกรด และปลดปล่อย Cy7 ออกมาได้มากที่สุด อีกทั้งยังสามารถสร้างออกซิเจนอะตอมเดี่ยวได้มากกว่า Indocyanine green dye standard และจากผลการทดลองเหล่านี้ทำให้ผู้วิจัยเชื่อว่าอนุภาคนาโน ที่สังเคราะห์ขึ้นโดยใช้ Cy7 และเควอซิทิน มีประสิทธิภาพที่ดีในการทำลายเซลล์มะเร็ง