ประสิทธิภาพการต้านโรคสเตรปโตคอคโคซิสของนาโนอิมัลชันปราศจากเอทานอลจากเปลือกส้มโอเหลือทิ้งสำหรับการขนส่งปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus,1758)

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชนากานต์ แก่นเพชร, ตอฮาวีย์ ยีส้า, นภัสนันท์ ปัญจะสุวรรณ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัญญาวุฒิ รัตนารมย์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิล ซึ่งรัฐบาลไทยมีการผลักดันการส่งออก มักประสบปัญหากับการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae เป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมรีที่สามารถก่อโรคในปลานิล พบว่าเป็นเชื้อสาเหตุของโรค Streptococcosis ในปลาน้ำจืดของประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งทำให้ปลาเกิดภาวะเบื่ออาหาร ว่ายน้ำผิดปกติ เสียการทรงตัว จากการศึกษาพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอมีสารสำคัญที่เป็นองค์ประกอบ คือ limonene ซึ่งมีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งเชื้อ Streptococcus agalactiae ได้ ดังนั้น โครงงานฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) สกัดและเปรียบเทียบปริมาณน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอ จากวิธี hydrodistillation และ ultrasonic-assisted hydrodistillation 2.) พัฒนาสูตรนาโนอิมัลของน้ำมันหอมระเหยเปลือกส้มโอและวัดขนาดอนุภาคของนาโนอิมัลชัน 3.) ตรวจสอบการยับยั้งเชื้อ Streptococcus agalactiae ในน้ำที่มีการหยดนาโนอิมัลชันลงไป โดยกระบวนการทดลองคือ การ Dilution Suscepibility Test หรือการทดสอบ MIC โดยการทดสอบการยับยั้บเชื้อจุลินทรีย์ด้วยวิธี dilution test และสามารถนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมปลานิลเพื่อการขนส่งที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น