การศึกษาระดับความชื้นและวัสดุสำหรับฟักไข่ที่ส่งผลต่ออัตราการฟักตัวของตั๊กแตนปาทังกาโมจีน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชวนน เพริศแก้ว, ฉัตรบุตร อุ่นปิง, นาย ธนทัต นวเศรษฐโกศล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำทิพย์ ศรีแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องการศึกษาระดับความชื้นและวัสดุสำหรับฟักไข่ที่ส่งผลต่ออัตราการฟักตัวของตั๊กแตนปาทังกาโมจีน ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสภาวะที่ปริมาณอาหารมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ แมลงเป็นอีกหนึ่งชนิดที่มีสารอาหารอย่างโปรตีนสูง มีต้นทุนในการเลี้ยงดูต่ำ แต่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงตั๊กแตนหลายกลุ่มต้องพบเจอกับอัตราการฟักไข่ที่ต่ำ ทําให้สูญเสีย ผลผลิตและขาดทุน โดยปัจจัยด้านความชื้นและอุณหภูมิส่งผลอย่างมากต่อพฤติกรรมการวางไข่และอัตราการฟักไข่ของตั๊กแตนเป็นแนวทางเพิ่มผลผลิตในการเลี้ยงตั๊กแตน โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนได้แก่ 1) การเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตั๊กแตน ทําการศึกษาสภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อการสืบพันธุ์ของตั๊กแตน โดยตั๊กแตนที่เพาะเลี้ยงจะได้รับอาหารชนิดเดียวกัน คือ หญ้าเนเปีย ในปริมาณที่เท่ากัน 2) การทดสอบปัจจัยของความชื้นในดิน 2.1) การทดสอบประสิทธิภาพการกักเก็บความชื้นของดินที่ใช้บ่มไข่ในอัตราส่วนของวัสดุที่ต่างกัน 2.2) การทดสอบผลกระทบของความชื้นในดินต่อพฤติกรรมการวางไข่และอัตราการวางไข่ พรมน้ำให้มีความชื้นต่างกัน 3 ระดับ แล้วนําไปไว้ในโรงเพาะเลี้ยงละ 1 ระดับความชื้น หลังครบ2สัปดาห์หลังจากตั๊กแตนเริ่มเข้าคู่จึงทําการนําถาดดินที่ใช้รองไข่ออกมาแยกเอาฝักไข่เพื่อชั่งน้ำหนัก นับจํานวนฝักไข่ และวัดความกว้างความยาวของฝักไข่ 2.3) การทดสอบผลกระทบของความชื้นในดินต่ออัตราการฟักไข่ นําดินที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด นําไปไว้ในโรงเพาะเลี้ยงละ 1 ระดับความชื้น สุ่มเลือกฝักไข่จํานวน 9 ฝัก บ่มในดินที่มีความชื้นต่างระดับกัน ทําการบ่มในกล่องโฟมที่มีฝาปิดแล้วจึงนําไปตากแดด สังเกตและบันทึกผลจํานวนตั๊กแตนที่ฟักและจํานวนตั๊กแตนที่ตายในทุกๆวัน เป็นเวลา 20 จึงทำสรุปผลและหาค่าเฉลี่ย