การศึกษาการย่อยสลายโฟมด้วยหนอนผีเสื้อกลางคืนชนิด (Galleria mellonella L.)

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กัญญารัตน์ มาคำ, นิธินันท์ สภานนท์, กชกร อินทรศร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เอนก ไชยบุตร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันโลกของเรากำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับปริมาณของขยะพลาสติกที่กำลังเพิ่มปริมาณขึ้นในทุกๆปีเนื่องจากปริมาณการใช้ขยะประเภทพลาสติกที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์ จากการสำรวจปริมาณขยะประเภทโฟมในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2552-2556 พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 34 ล้านใบ/วัน เป็น 61 ล้านใบ/วัน หรือโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยสร้างขยะประเภทพลาสติกเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ใบ/คน/วัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วิถีชีวิต สังคม และพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันตระหนักถึงความสะดวกสบายและความรวดเร็วมากกว่าผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม กล่องโฟมเป็นขยะพลาสติกอีกชนิดหนึ่งที่เป็นขยะพลาสติกที่นิยมอย่างมากโดยกล่องโฟมบรรจุอาหารได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่แม่ค้าร้านตลาดทั่วไปเพราะสามารถใช้งานได้ง่าย ราคาถูกดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าเหตุใดกล่องโฟมจึงเป็นขยะพลาสติกที่พบได้มากในปัจจุบัน กล่องโฟมผลิตมาจากผลิตจากวัสดุประเภทโพลีสไตรีน (Polystyrene: PE) และเป็นขยะที่มีความคงทนและสามารถทนต่อแรงอัดได้สูงและใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่า 100 ปี ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษ สิ้นเปลืองงบประมาณ และ พื้นที่ฝังกลบได้

คณะผู้ศึกษาจึงได้ ศึกษาการย่อยสลายโฟมด้วยหนอนผีเสื้อกลางคืนชนิด (Galleria mellonella L.) และเพื่อลดปริมาณขยะประเภทโฟมที่มาจากการใช้ที่มากขึ้นของมนุษย์โดย ขั้นตอนการทำโครงงาน ขั้นตอนที่1.สร้างที่อยู่ให้กับหนอนผีเสื้อชนิดกลางคืน โดยการกรีดฝากล่องพลาสติกเพื่อที่จะให้มีรูเพื่อระบายอากาศ หลังจากนั้นติดผ้าช้อนลูกน้ำ เพื่อป้องกันหนอนไต่ออกจากกล่องแล้วรอจนหนอนกลายเป็นผีเสื้อและเมื่อหนอนกลายเป็นผีเสื้อให้ทำการแยกผีเสื้อไปที่อีกกล่องหนึ่ง เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาระยะเวลาการเจริญเติบโต เลี้ยงหนอนผีเสื้อให้มีการวางไข่ เลี้ยงผีเสื้อและรอจนกระทั่งฟักตัวกลายเป็นหนอนจากนั้นศึกษาวัฏจักรการเจริญเติบโตของตัวอ่อนผีเสื้อกลางคืนชนิด (Galleria mellonella L.) ขั้นตอนที่2.นำอาหารปกติ(ใบไม้แห้ง) อาหารสังเคราะห์ โพลีสไตรีนโฟม และอาหารผสม(ระหว่าง อาหารปกติใบไม้แห้ง และโพลีสไตรีนโฟม ในอัตราส่วน 1:1:1 , 2:1:1 , 1:2:1 และ 1:1:2 ) ไปใช้เลี้ยงตัวอ่อนผีเสื้อ Galleria mellonella L. ในแต่ละช่วงอายุวัน( 10 วัน , 20วัน และ 30วัน) จำนวนหนอนที่ใช้ในแต่ละตัวอย่างอาหาร ตัวอย่างละ 10 ตัวจากนั้นวัดปริมาณการลดลงของอาหารแต่ละชนิดที่ให้ ในระยะเวลา 1สัปดาหบันทึกและสรุปผลชนิดอาหาร ต่ออัตราการกินของตัวอ่อนผีเสื้อกลางคืนและบันทึกและสรุปผลชนิดอาหารต่อน้ำหนักรวมของตัวอ่อนผีเสื้อกลางคืนในอาหารตัวอย่างแต่ละชนิด ขั้นที่3.นำหนอนที่มีอายุ 10 วัน 20 วัน และ 30 วัน จำนวนหนอนที่ใช้ในแต่ละตัวอย่าง ตัวอย่างละ 10 ตัว มาอยู่ในกล่องที่บรรจุพอลิสเตอรีนโฟมไว้ เป็นเวลา 1 วัน และตรวจสอบพอลิสเตอรีนโฟมที่ถูกหนอนผีเสื้อกินไปโดยการชั่งหาน้ำหนักที่หายไปของพอลิสเตอรีนโฟม ขั้นตอนที่4.ศึกษาผลกระทบต่อกระบวนการเมตามอร์ฟอซิสจากการกินพอลิสเตอรีนโฟมของตัวอ่อนผีเสื้อกลางคืนชนิด Galleria mellonella L. โดยวัดจากช่วงเวลาในช่วงชีวิตต่างๆของกระบวนการเมตามอร์ฟอร์ซิส เปรียบเทียบ ระหว่างการเลี้ยงด้วยอาหารชนิดต่างๆ อาหารปกติ(ใบไม้แห้ง) อาหารสังเคราะห์ อาหารผสม (ในอัตราส่วน 1:1:1 , 2:1:1 , 1:2:1 และ 1:1:2 ) และ โพลีสไตรีนโฟมอย่างเดียวจากนั้นสังเกตและบันทึกผล ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างมาก