การศึกษาผลของการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาตะเพียนขาวกับปลาตะเพียนทอง และ ปลาตะเพียนขาวกับปลาคาร์ฟ ที่มีผลต่ออัตราการผสม และ อัตราการฟัก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
หนึ่งฤทัย ศรีสาย, วนาลี โฉมทอง, ธีรพัฒน์ ชำนาญคราด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
บุษรินทร์ จิตเส้ง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาผลของการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาตะเพียนขาวกับปลาตะเพียนทอง และ ปลาตะเพียนขาวกับปลาคาร์ฟ ที่มีผลต่ออัตราการผสม และ อัตราการฟัก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาตะเพียนขาว กับ ปลาตะเพียนทอง และ ปลาตะเพียนขาว กับ ปลาคาร์ฟและศึกษาการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาตะเพียนขาว กับ ปลาตะเพียนทอง และ ปลาตะเพียนขาวกับปลาคาร์ฟที่มีผลต่ออัตราการผสม อัตราการฟัก โดยเริ่มจากเร่งฮอร์โมนปลาโดยใช้วิธีการผสมเทียมระหว่างไข่ปลาตะเพียนขาวกับน้ำเชื้อปลาตะเพียนทอง และ น้ำเชื้อปลาคาร์ฟตามลำดับ โดยมีขั้นตอนดังนี้ เริ่มจากการเร่งฮอร์โมนให้ปลา หลังจากนั้นนำไปเพาะพันธุ์ในบ่อแล้วตวงสุ่มนับอัตราการผสม และ อัตราการฟักตัว แล้วนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูพัฒนาการ ของตัวอ่อนพันธุ์ผสมและดูอัตราการแบ่งเซลล์ที่ผิดพลาด จากนั้นทำการบันทึกผลที่ได้จากการทดลอง แล้วนำมาหาร้อยละของการผสม และ ร้อยละของการฟัก
พบว่าจากการผสมระหว่างปลาตะเพียนขาว กับ ปลาตะเพียนทอง และ ปลาตะเพียนขาว กับ ปลาคาร์ฟมีอัตราการผสมเฉลี่ย 30.46 และ 15.39 ตามลำดับ อัตราการฟักตัวหลังการผสมของปลาตะเพียนขาว กับ ปลาตะเพียนทอง และ ปลาตะเพียนขาว กับ ปลาคาร์ฟ เป็น 6.82 และ 2.53 สามารถสรุปได้ว่าปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมีโอกาสในการผสมและการฟักตัวมากกว่าการปลาที่อยู่ต่างสกุลแต่อยู่ในวงศ์เดียวกันและระยะที่มีการแบ่งเซลล์ผิดพลาดมากสุดก็คือระยะ gastrulation