การออกแบบนวัตกรรมกรองมลพิษอากาศโดยมีต้นแบบครีบจากการศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของครีบวาฬหลังค่อมร่วมกับลักษณะทางกายภาพของใบสนไซเปรสสำหรับเป็นส่วนเสริมล้อรถยนต์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภากร ขจรเกียรตินุกูล, กฤตเมธ โควานิชเจริญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิตพงษ์ เหนือเกาะหวาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การเติมโตในด้านอุตสาหกรรมและการใช้รถยนต์ส่งผลทำให้ปริมาณมลพิษบนชั้นบรรยากาศและบน ท้องถนนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันกลับยังมีการแก้ไขในด้านนโยบายซึ่งเป็นการแก้ไขมลพิษทางอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า โดนรถยนต์ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหามลพิษทางอากาศทางคณะผู้จัดทำ จึงได้ทำการพัฒนานวัตกรรมกรองมลพิษอากาศที่เป็นส่วนเสริมล้อรถยนต์ เพื่อให้รถยนต์ที่เป็นสาเหตุของปัญหากลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ แต่เนื่องด้วยความเร็วของรถสามารถทำให้การกรอง มีประสิทธิภาพยังไม่ดีพอ ทางคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นที่จะต้องพัฒนาชิ้นส่วนซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดความเร็วของมก่อนโดนฟิลเตอร์จึงได้เลือกต้นแบบจากธรรมชาติ 2 สิ่งได้แก่ วาฬหลังค่อม และ สนไซเปรส โดยทางคณะผู้จัดทำได้ทำการออกแบบต้นแบบของครีบวาฬหลังค่อมและสนไซเปรสไว้อย่างละ 2 แบบ ซึ่งหลังจากการศึกษาและใช้งานร่วมกันแล้วพบว่า ครีบทั้ง 2 ชนิด แบบที่ 1 มีประสิทธิภาพในการต้านอากาศมากกว่าแบบที่ 2 โดยเฉพาะขนาด 5 x5 ตารางเซนติเมตร ที่มีความเร็วของการไหลอากาศหลังผ่านครีบจากวาฬหลังค่อมเป็น 20.8342 เมตรต่อวินาที และความเร็วของการไหลอากาศหลังผ่านครีบจากสนไซเปรสเป็น 21.25 เมตรต่อวินาที ซึ่งครีบต้นแบบทั้ง 2 สามารถลดแรงต้านอากาศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้จากผลการศึกษาการใช้งานร่วมกันของฟิลเตอร์พบว่า แบบ HEPA Filter + Activated carbon + ใยบวบให้ประสิทธิภาพในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนออไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนมากที่สุด โดยมีประสิทธิภาพในการดูดซับ 95.79 เปอร์เซนต์ และ 89.40 เปอร์เซนต์ อีกทั้งจากผลการศึกษายังพบอีกว่า HEPA Filter และ ใยบวบมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองและลดควันดำได้เป็นอย่างดี โดย HEPA filter มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 95.03 เปอร์เซนต์ และ 56.34 เปอร์เซนต์ ในขณะเดียวกันใยบวบถึงแม้มีเส้นใยที่หยาบกว่าแต่ยังสามารถมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองและลดควันดำได้ถึง 60.57 เปอร์เซนต์ และ 43.72 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ