การศึกษาการทำลายไคตินของเปลือกไข่ยุงลายด้วยสารสกัดจากพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยแบบรักษ์น้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เดชากุล อุ่นประเสริฐสุข, ณัฏฐ์ภาสรณ์ แก้วศรีงาม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉันทนา บุญมาก, ลำดวน บุญรังษี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ผงยับยั้งการวางไข่ของยุงลายชนิดรักษ์น้ำ มีจุดมุ่งหมายเพื่อยับยั้งการสร้าง ไคตินของไข่ยุงลายโดยไม่ใช้สารเคมีทำให้ตัวอ่อนของยุลายตาย และ ส่งผลต่อการเพิ่มคุณภาพของน้ำ โดยทำการศึกษาชนิดของภาชนะและแสงที่มีผลต่อการวางไข่ของยุง พบว่ากะลามียุงลายวางไข่ทั้งในที่มืดและสว่าง อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียสศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารสกัดจากธรรมชาติที่มีผลต่อการยับยั้งการวางไข่ของยุงลายชนิดรักษ์น้ำพบว่าสารสกัดจากตะไคร้หอมที่มีความเข้มข้น 40% โดยมวลต่อปริมาตร ไม่มีลูกน้ำยุงและค่าDOเฉลี่ยเท่ากับ9.80 mg/l ค่าการดูดกลืนยากำจัดแมลงคาร์บาเมตเฉลี่ยเท่ากับ0.114สารสกัดจากใบรางจืดที่มีความเข้มข้น 40% โดยมวลตอบปริมาตรไม่มีลูกน้ำยุงและค่าDOเฉลี่ย เท่ากับ 11.0 mg/l ค่าการดูดกลืนยากำจัดแมลงคาร์บาเมตเฉลี่ยเท่ากับ 0.124 ศึกษาชนิดตัวดูดซับสารธรรมชาติที่อัตราส่วนต่างๆในการทำผงยับยั้งการวางไข่ของยุงลายชนิดรักษ์น้ำ พบว่า เปลือกไข่เป็ดสามารถดูดซับอัตราส่วนผสมของสารสกัดจากใบรางจืด ที่มีความเข้มข้น 40% โดยมวลต่อปริมาตรและสารสกัดจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 40% โดยมวลต่อปริมาตรที่อัตราส่วน 2:1 โดยปริมาตร พบว่าไม่มีลูกน้ำยุงในภาชนะ และน้ำตัวอย่างมีค่าDO เฉลี่ยเท่ากับ 9.10 mg/l มีค่าการดูดกลืนยากำจัดแมลงคาร์บาเมตเท่ากับ 0.013 ศึกษาอัตราส่วนผงยับยั้งการวางไข่ของยุงลายต่อน้ำตัวอย่างที่เหมาะสมต่อการรักษ์น้ำ พบว่าอัตราส่วน ที่เหมาะสมคือ 3 กรัมต่อน้ำ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร น้ำจะใสปานกลางไม่มีลูกน้ำยุง ค่าDOเฉลี่ย 7.9 mg/l มีค่าการดูดกลืนยากำจัดแมลงคาร์บาเมตเฉลี่ยเท่ากับ 0.019 และค่า BOD เฉลี่ยเท่ากับ 2.3 mg/l เปรียบเทียบประสิทธิภาพของผงยับยั้งการวางไข่ของยุงกับทรายอะเบทที่ขายตามท้องตลอดพบว่าทรายอะเบทมีค่าการดูดกลืนสารกำจัดแมลงคาร์บาเมตเฉลี่ยเท่ากับ 0.094และค่าDOเฉลี่ยเท่ากับ 7.60mg/l