การเปรียบเทียบผลของการผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยหมักจากเศษวัดดุที่เพิ่มธาตุอาหารหลักต่อการเจริญของรากพิเศษในชวนชม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
คัทลียา สุระโคตร, วลิสรา เมืองมูล, กัญญพัชญ์ ยอดเพชร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิรินาวิน กาละจิตร, นงลักษณ์ ทาเขียว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ชวนชมเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีชื่อเป็นมงคลมีความสวยงาม ตั้งแต่ราก กิ่ง ใบและดอก มีการค้าขาย ทั้งหน้าร้านค้าไม้ดอกไม้ประดับทั่วไปและการค้าขายทางออนไลน์ ซึ่งมีการซื้อขายทั้งภายในและต่างประเทศ จากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่จะชอบชวนชมที่มีโขดรากใหญ่ โดยเฉพาะรากต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้ 1. มีรากที่มีขนาดเท่าๆ กัน 2. มีรากครบหรือมีความสมดุลทั่วทุกด้าน และ 3. รากมีมุมของรากเฉียงประมาณ 45 องศา หากชวนชมต้นไหนที่มีรากสมบูรณ์ทั้ง 3 หัวข้อ ชวนชมต้นนั้นจะยิ่งมีราคาดี และมะพร้าวสับที่ใช้ผสมดินปลูกชวนชมนั้นหายากและราคาค่อนข้างแพง คณะผู้ทดลองชุดแรกจึงทดลองใช้แกลบเปรียบเทียบกับการใช้มะพร้าวสับ และ ลูกไม้ชวนชมที่เพาะปลูกมีรากที่เกิดจากรากแก้วและรากแขนงนั้นมักจะไม่สมบูรณ์ครบทั้ง 3 ประเด็น ทำการทดลองโดยใช้ต้นชวนชมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตรจำนวน 40 ต้น โดยใช้สายพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยม คือ สายพันธุ์อราบิคัม ออกแบบการทดลองเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาทดลองหาดินปลูกที่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบดินปลูก 2 ชุด คือ ชุดควบคุมใช้ดินปลูกพื้นฐานผสมมะพร้าวสับ และ ชุดทดลองใช้ดินปลูกผสมแกลบมะพร้าว ตอนที่ 2 ศึกษาทดลองหาวิธีการปลูกที่เหมาะสม มีวิธีปลูก 4 แบบ คือ ชุดควบคุมใช้วิธีตัดแต่งราก ชุดทดลอง 3 ชุด ดังนี้ ชุดทดลอง 1 ตัดโคนต้นแล้วปลูก ชุดทดลองที่ 2 ตัดโคนต้นแล้วติดแผ่นพลาสติก และชุดทดลองที่ 3 ตัดโคนต้นแล้วทากาวไซยาโนอะคริเลต ผลการเจริญของรากแยกเป็นรายชุดใน 5 สัปดาห์แรกของการทดลอง พบว่า ดินปลูกพื้นฐานมีคะแนนการเจริญของรากมากว่าดินปลูกผสมแกลบ 0.65 คะแนน จาก 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 8.13 และวิธีการปลูกแบบตัดโคนแล้วติดแผ่นพลาสติกดีที่สุด การตัดแต่งรากดีเป็นอันดับ 2 การทากาวร้อนดีเป็นอันดับ 3 เนื่องจากเน่า 1 ต้น คิดเป็นร้อยละ 20 และ การตัดโคนแล้วปลูกค่าเฉลี่ยการเจริญของรากน้อยที่สุด เพราะเน่า 2 ต้น คิดเป็นร้อยละ 40 ทั้งนี้เมื่อครบ 9-12 สัปดาห์ ให้ทำการล้างรากแล้วบันทึกข้อมูลพื้นฐานหลังทดลองและให้คะแนนคุณภาพของรากเพื่อสรุปผลการทดลองให้สมบูรณ์ต่อไป
คณะผู้ทำโครงงานได้ศึกษาเพิ่มเติมจากรายงานของพัชรี สำโรงเย็น (2557) กล่าวว่า ปุ๋ยหมักจากใบก้ามปูหมักมีธาตุฟอสฟอรัสในปริมาณน้อยมาก จึงจะทดลองเพื่อพัฒนาต่อยอดโดยมีชุดควบคุมใช้ดินปลูกผสมมะพร้าวสับและแกลบ ในอัตราส่วน ดินหมัก : มะพร้าวสับ : แกลบ เท่ากับ 4 : 1 : 1 จะสามารถเพิ่มความโปร่งและดูดซับความชื้น รวมทั้งลดต้นทุนในการซื้อมะพร้าวสับร้อยละ 50 ส่วนชุดทดลองจะใช้วัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติทางเคมีช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ซังข้าวโพดและหญ้าแห้ง ซึ่งทั้ง 4 ชุดการทดลองจะใช้วิธีการปลูกแบบตัดโคนแล้วติดแผ่นพลาสติก ใช้ชวนชมสายพันธุ์อาราบิคั่ม อายุ 8 เดือน จำนวน 20 ต้น เลือกต้นชวนชมแต่ละชุดการทดลองโดยวิธีการสุ่ม