แผ่นปิดแผลจากกาบกล้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รวิสรา ทองอินทร์, พนิตนันท์ บุญนำศิริจิต
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิตารีย์ ทองเทียนชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน การเล่นกีฬา เป็นต้น อาจจะทำให้ระหว่างการทำกิจกรรมมีอุบัติเหตุที่เกิดบาดแผลตามร่างกายของตนเอง เช่น เวลาที่ทำงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือมีคมต่างๆ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนทำให้เกิดบาดแผล ซึ่งในการรักษาบาดแผลเหล่านี้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้อย่างผ้าก๊อซหรือแผ่นปิดแผล แผ่นปิดแผลมีคุณสมบัติที่ช่วยให้บาดแผลไม่ได้รับเชื้อโรคต่างๆที่อยู่ในอากาศหรือสภาพแวดล้อมรอบๆ เป็นการป้องกันไม่ให้บาดแผลติดเชื้อหรือไม่ให้บาดแผลมีอาการแย่ลง แผ่นปิดแผลที่ดีจะต้องมีเนื้อผ้าที่นุ่ม มีความสามารถในการดูดซับของเหลว ไม่ติดแผล โดยแผ่นปิดแผลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันป้องกันเชื้อโรคได้จริง แต่เวลาเปลี่ยนจำเป็นจะต้องแกะอันเก่าออกมาก่อน ซึ่งมันอาจจะทำให้เนื้อผิวหน้าแผลติดออกมาด้วย ทำให้บาดแผลกว้างและลึกมากยิ่งขึ้น และยังย่อยสลายใช้เวลายาวนาน เนื่องจากเส้นใยที่นำมาทำแผ่นปิดแผลเป็นเส้นใยสังเคราะห์
คณะผู้จัดทำจึงคิดที่จะนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้แทนแผ่นปิดแผลที่ทำมาจากใยสังเคราะห์ ซึ่งวัสดุที่จะนำมาเป็นเส้นใยของที่ปิดแผลก็คือ กาบกล้วย โดยกาบกล้วยนั้นมีเส้นใยเป็นส่วนประกอบ เส้นใยจากกาบกล้วยจะมีความเงาสวยงาม แข็งแรง เหนียว ทนทาน ดูดซับน้ำได้ดี และได้นำฟ้าทะลายโจรมาสกัดเพื่อเป็นส่วนผสมของแผ่นปิดแผล ให้แผลไม่ติดเชื้อ ฟ้าทะลายโจรช่วยรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยสมานแผล มีส่วนช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมผิวให้ดียิ่งขึ้นหลังจากที่ทำที่ปิดแผลจากกาบกล้วยเสร็จ คณะผู้จัดทำจะนำไปทดสอบประสิทธิภาพในด้านความเหนียวแน่น การดูดซับการย่อยสลาย การต้านเชื้อและสมานแผล ระหว่างแผ่นปิดแผลสำเร็จรูป แผ่นปิดแผลสำเร็จรูปที่ผสมสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร แผ่นปิดแผลจากกาบกล้วย และแผ่นปิดแผลจากกาบกล้วยที่ผสมกับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร