แผ่นปิดแผลจากกาบกล้วยที่มีสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรช่วยในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
รวิสรา ทองอินทร์, พนิตนันท์ บุญนำศิริจิต
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิตารีย์ ทองเทียนชัย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แผ่นปิดแผล คือ แผ่นที่ทำมาจากผ้าก๊อซ ช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผล ทำให้แผลแห้งและสมาน ตัวเร็วขึ้น ช่วยกดแผลทำให้อาการปวดลดลง และช่วยป้องกันเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ซึ่งอาจ ทำให้เกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อตามมาได้ แต่ก็ยังมีปัญหาในการใช้แผ่นปิดแผล คือ การรักษาบาดแผล ที่ทำให้แผลหายอย่างรวดเร็วจะต้องหมั่นทำความสะอาดและเปลี่ยนแผ่นปิดแผลเป็นประจำ ทำให้ปากแผล เปิดกว้างมากขึ้นเนื่องจากแผ่นปิดแผลติดกับตัวแผล ย่อยสลายยากใช้เวลานาน คณะผู้จัดทำจึง ต้องเลือกวัสดุที่ได้จากธรรมชาติมาทำเป็นแผ่นปิดแผล ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้เพิ่มสกัดหยาบจากฟ้าทะลายโจรลงไปเป็นส่วนผสมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง โดยใช้กาบกล้วยจากต้นกล้วยตานี เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม คือ มีเส้นใยขนาดใหญ่ แข็งแรงและเหนียวกว่าเส้นใยจากต้นกล้วยชนิดอื่นๆ คณะผู้จัดทำจึงต้องการศึกษาคุณสมบัติของแผ่นปิดแผลจากกาบกล้วยและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผ่นปิดแผลปกติกับแผ่นปิดแผลจากกาบกล้วย โดยนำกาบกล้วยไปชุบกับวุ้น อบด้วยตู้อบลมร้อนแล้วนำไปปั่นละเอียดโดยเครื่องปั่นละเอียดให้ออกมาเป็นผง จากนั้นนำผงกาบกล้วยไปต้มกับวุ้น 4 % ใส่กลีเซอรอลในอัตราส่วน 8 mL 10 mL 12 mLและใส่สารกัดหยาบจากฟ้าทะลายโจรลงไป เพื่อให้แผ่นปิดแผลมีคุณสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย จากนั้นนำมาศึกษาคุณสมบัติต่างๆของแผ่นปิดแผล คือ การดูดซับของเหลวจากบาดแผล การย่อสลายของแผ่นปิดแผล ความแข็งแรงของแผ่นปิดแผล และการต้านเชื้อของแผ่นปิดแผล จากการศึกษาคุณสมบัติของแผ่นปิดแผลจากกาบกล้วยผสมสารสกัดหยาบจากฟ้าทะลายโจร พบว่าการดูดซึมของเหลวของแผ่นปิดแผลที่มีอัตราส่วนของผงกาบกล้วยต่อวุ้นต่อกลีเซอรอล เป็น 2:4:8 ดูดซึมของเหลวได้ดีที่สุด การย่อยสลายของแผ่นปิดแผลที่มีอัตราส่วนของผงกาบกล้วยต่อวุ้นต่อกลีเซอรอลเป็น 2:4:12 ย่อยได้ดีที่สุด รองลงมาคือ อัตราส่วนของผงกาบกล้วยต่อวุ้นต่อกลีเซอรอลเป็น 2:4:8 และ 2:4:10 ตามลำดับ