การสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้เป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ สำหรับการชะลอการสุกของเนื้อทุเรียน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำเพชร อิษฏ์ธรรม, ศยามล ระวัง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุพรรณษา ไพศาล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
สิ่งของเครื่องใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์หรือตัวผลิตภัณฑ์เองล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของพลาสติกทั้งสิ้น พลาสติกส่วนใหญ่ที่นำมาใช้กับสิ่งของเหล่านี้มักเป็นพลาสติกสังเคราะห์หรือพลาสติกที่เกิดจากสารเคมีซึ่งเป็นอันตราย อีกทั้งพลาสติกยังเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน ทำให้โลกต้องเผชิญกับปัญหา
ภาวะโลกร้อนจากพลาสติก ซึ่งย่อยยากหรือย่อยโดยใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นแนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นพลาสติกชีวภาพช่วยลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทางผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญ อีกทั้งผู้จัดทำได้อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยพืชที่พบบ่อยคือยางพารา ทำให้มีโอกาสเห็นขี้เลื่อยของต้นยางพารากองอยู่จำนวนมาก ไม่มีใครสนใจนำไปใช้ประโยชน์ ทางผู้จัดทำเล็งเห็นจึงคิดว่าควรนำขี้เลื่อยไม้ยางพารามาสกัดเอาเซลลูโลส แล้วสังเคราะห์เป็นคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(ซีเอ็มซี) โดยอาจมีการอ้างอิงขั้นตอนการทำจากงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว ที่เป็นการผลิตแผ่นฟิล์มซีเอ็มซีจากเปลือกทุเรียนเพื่อนำไปทำเป็นถุงบรรจุผงกาแฟ การสังเคราะห์ซีเอ็มซีจากเปลือกมะพร้าว และการผลิตซีเอ็มซีจากผักตบชวาเพื่อนำไปปรับสภาพผิว ทางผู้จัดทำคิดว่าซีเอ็มซีจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา เมื่อนำมาทำให้เป็นแผ่นฟิล์มแล้วขึ้นรูปเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ น่าจะสามารถใช้แทนกล่องบรรจุภัณฑ์ทางการค้าในการบรรจุทุเรียนได้ โดยกล่องบรรจุภัณฑ์นี้อาจสามารถชะลอการสุกของเนื้อทุเรียน เก็บกลิ่นของทุเรียน ย่อยสลายเร็วกว่ากล่องบรรจุภัณฑ์ทางการค้า และยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตได้ด้วย