การศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของผลิตภัณฑ์เซรั่มจากสารสกัดลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีนีโอโซม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มิรันตี ดวงมุสิทธิ์, พรชิตา เบ้าเทศ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิตพงษ์ เหนือเกาะหวาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีนีโอโซมได้รับความนิยมในการพัฒนาเชิงเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง เนื่องจากมีความสามารถในการกักเก็บและนำส่งสารต่าง ๆ ซึ่งเซรั่มเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีฤทธิ์เข้มข้น และสามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ดี ทำให้สามารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่า รวมไปถึงสารสกัดจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยบำรุงผิว ทำให้หน้าขาวกระจ่างใส ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีเมลานินที่เป็นสาเหตุของการเกิดการหมองคล้ำบนใบหน้า ของผลิตภัณฑ์เซรั่มจากสารสกัดลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของผลิตภัณฑ์เซรั่มจากลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ที่ผ่านเทคโนโลยีนีโอโซมเทียบกับสารมาตรฐาน kojic acid โดยทำการสกัดสารจากลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ และทำให้อยู่ในรูปแบบนีโอโซม โดยใช้ส่วนประกอบที่แตกต่างกัน 3 แบบได้แก่ tween 60, tween 61 และ tween 80 จากนั้นทำการวัดขนาด ค่า pdi และค่า zetapotential ของสารกัดในรูปแบบนีโอโซมที่ได้ แล้วนำมาจัดทำให้อยู่ในรูปของเซรั่ม จากนั้นทดสอบทางกายภาพโดยวัดค่าความหนืดโดยใช้เครื่องวัดความหนืดแบบหมุน ทดสอบทางเคมี โดยการวัดค่า pH ด้วยเครื่อง pH meter ทดสอบค่าคงตัวในสภาวะเร่ง และทดสอบการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสเทียบกับ kojic acid จากนั้นทำการวิเคราะห์ค่าที่ได้เป็นเปอร์เซ็นต์ในการยับยั้ง โดยคาดว่าประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของเซรั่มที่ได้จาก tween 60, tween 61 และ tween 80 มีค่าแตกต่างกันและผลิตภัณฑ์เซรั่มจากสารสกัดลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ที่ผ่านเทคโนโลยีนีโอโซมสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้มากกว่าหรือเทียบเท่ากับสารมาตรฐาน kojic acid