วัสดุเพียโซอิเล็กทริกที่มีพลาสติกรีไซเคิลเป็นเนื้อพื้น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปภิญญา นรัฐกิจ, ธีรวัฒน์ กุลวงศ์วรกร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มุกดา หอมมาลี, นภาพร เทียมทะนง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้เป็นโครงงานที่ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุเพียโซอิเล็กทริกที่มีพลาสติกรีไซเคิลเป็นสารเนื้อพื้น โดยจะทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของพลาสติกประเภท PET , PP และ HDPE กับวัสดุผงเพียโซอิเล็กทริก (PZT Powder) ในการนำมาใช้เป็นเนื้อพื้นของวัสดุเพียโซอิเล็กทริก และทำการตรวจสอบประสิทธิภาพสารเนื้อพื้นที่ได้จากการศึกษาอัตราส่วนระหว่างวัสดุพลาสติกรีไซเคิลทั้ง 3 ชนิดและวัสดุเพียโซอิเล็กทริก
การขึ้นรูปชิ้นงานสามารถทำได้โดยการนำพลาสติกชนิดต่างๆมาล้างให้สะอาดแล้วตากให้แห้งจากนั้นนำเข้าเครื่องบดพลาสติกและนำพลาสติกที่บดได้มาชั่งในอัตราส่วนระหว่าง PET : PP : HDPE : วัสดุผงเพียโซอิเล็กทริก (PZT Powder) ดังนี้ 3 : 0 : 0 : 3 , 1.5 : 1.5 : 0 : 3 , 1.5 : 0 : 1.5 : 3 , 0 : 3 : 0 : 3 , 0 : 1.5 : 1.5 : 3 , 0 : 0 : 3 : 3 , 1 : 1 : 1 : 3 โดยมวล (กรัม) จากนั้นนำเข้าเครื่องผสมแบบปิด ผสมที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นนำวัสดุที่ได้ไปบดในเครื่องบดพลาสติกแล้วนำไปขึ้นรูปเพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่ต้องการ แล้วนำชิ้นงานที่ได้ไปวิเคราะห์ผลโดยจะทำการทดสอบการทนต่อแรงดัด การทดสอบความแข็งของชิ้นงาน การทดสอบอุณหภูมิแข็งเปราะและความสามารถในการโค้งงอของชิ้นงาน การทดสอบสมบัติไฟฟ้าโดยตรวจสอบสมบัติไดอิเล็กทริก และส่งตรวจสอบทางสัณฐานวิทยาเพื่อตรวจสอบลักษณะผิวภายนอกของชิ้นงาน