การศึกษาการยืดอายุกล้วยหอมด้วยแผ่นฟิล์มไคโตซานร่วมกับสารสกัดจากใบชะพลูเพื่อยับยั้งเชื้อราColletotrichum musae. สาเหตุโรคแอนแทรคโนส

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วัชราภรณ์ ลันขุนทด, พิมชนก รักษาอินทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วิลาวัลย์ พรมชุม, มุกดา หอมมาลี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีมานานควบคู่กับประเทศไทย เพราะเป็นพืชที่สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้ จึงพบปลูกอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย คุณสมบัติสิ่งที่ทำให้กล้วยเป็นพืชที่ยอมรับว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศคือ แม่จากจะเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในแทบทุกพื้นที่ของประเทศแล้วยังเป็นพืชที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ตลอดปี แต่กล้วยเป็นผลไม้ที่อายุการเก็บรักษาได้ไม่นานและมีปัญหาโรคเน่าหลังการเก็บเกี่ยวหรือโรคแอนโนนซึ้งสาเหตุมาจากเชื้อรา Colletotrichum mussels. ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีเผื่อยืดอายุและยับยั้บเชื้อรา ซึ่งทำให้มีสารพิษตกค้างเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นทางผู้ทดลองจึงได้ทำไคโตซานและสารสกัดจากใบชะพลู มาเพื่อทดลองดูผลการยืดอายุและยับยั้งการเกิดโรคแอนแทรดโนสบนผลกล้วยหอม เพื่อนำมาใช้แทนสารเคมีซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในกรณีที่มีสารตกค้าง