การศึกษาและเปรียบเทียบปริมาณธาตุสังกะสีในน้ำปลาร้าต้มสุกจากปลาแต่ละชนิด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิดาภา จันทะรัง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีรัตน์ มัฐผา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการเผยแพร่ข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพานิชย์กล่าวว่า ความนิยมในการรับประทานอาหารหมักดองของชาวต่างชาติมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความเชื่อของผู้บริโภคที่ว่าอาหารหมักดองนั้น มีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบการไหลเวียนเลือดและทางเดินหายใจ สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นติดเชื้อจากโรคระบาดโควิด-19 ได้ ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ น้ำปลาร้าต้มสุก ที่เกิดจากภูมิปัญญาการถนอมอาหารของคนไทย แม้จะยังไม่มีงานวิจัยออกมารองรับข้อมูลดังกล่าว แต่หากได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริงแล้ว ก็จะเป็นอีกหนึ่งจุดขายสำคัญที่ช่วยขยายช่องทางการค้าให้กับผู้ผลิต นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคชาวไทยอีกด้วย จากการศึกษาและค้นคว้าของผู้จัดทำพบว่า สารอาหารจากเนื้อสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกาย คือ ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุละลายน้ำได้ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีอยู่ในเนื้อปลาที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำปลาร้า โดยจะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของปลาที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ดังนั้นผู้จัดทำเล็งเห็นความเป็นไปได้ที่น้ำปลาร้าต้มสุก จะมีธาตุสังกะสี ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย จึงจัดทำโครงงานการศึกษาปริมาณธาตุสังกะสีที่มีอยู่ในน้ำปลาต้มสุกจากปลาแต่ละชนิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของสินค้าพื้นบ้านไทยและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
คำสำคัญ: น้ำปลาร้าต้มสุก, ธาตุสังกะสี, ปลา