การศึกษาผลของสีตู้เลี้ยงที่มีผลต่อความเครียดของปลากัด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชาลิสา หมอช้าง, มาลียา เบ้ามะโน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัฐพร กลิ่นบรรทม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากปลากัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีทั้งการซื้อขาย และการลงทุนเพื่อขยายพันธุ์และแสวงหากำไร จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูปลากัด ที่เดิมทีเคยเป็นปลาป่าอาศัยอยู่ตามหนองน้ำ ในคู ในร่องน้ำ ที่ส่วนใหญ่มักจะมีความทึบและมีแสงผ่านน้อย และพืชในสิ่งแวดล้อมมักจะเป็นพืชน้ำใบเขียว ซึ่งสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูปลากัดส่งผลต่อความเครียดของปลากัด จึงต้องเลี้ยงปลาในตู้ที่มีสีใกล้เคียงกับสิ่งแวดล้อมที่ปลากัดอาศัยอยู่ ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความคิดที่จะศึกษาสีของตู้เลี้ยงที่มีผลต่อความเครียดของปลากัด โดยจะเปรียบเทียบจากปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือดของปลากัดหลังจากการเลี้ยงได้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยตู้เลี้ยงสีที่นำมาเปรียบเทียบมีทั้งหมด 5 สี ได้แก่ สีน้ำตาล สีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีน้ำเงิน สีละ 3 ตู้ และจะมีตู้ชุดควมคุมอีก 3 ตู้ รวมเป็น 18 ตู้