การศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายฟางข้าวโดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จุลินทรีย์ EM และจุลินทรีย์ พด.2

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐสินี แสงแก้วอนันต์, ปภาณิชา นิลละออ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อรรถพล ขันแก้ว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เกษตรกรส่วนหนึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณผลผลิต จึงเร่งการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อให้ได้หลายรอบต่อปี โดยขาดการจัดการที่ดี และเลือกใช้วิธีการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรแทนวิธีการอื่น ๆ เพราะเป็นหนทางที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ (มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, 2564) เกษตรกรบางรายจึงใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายชนิดต่างๆ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการหมักได้ อีกทั้งในปัจจุบันได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการผลิตจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายออกมาให้เกษตรกรใช้ โดยมีการรายงานว่าอีเอ็มมีเชื้อราในกลุ่ม Trichoderma sp. , Aspergillus sp. และ Scytalidium thermophilum มีความสามารถในการย่อยสลายเยื่อใยและเซลลูโลส (ณรกมลและคณะ, 2562) และจากการศึกษาขั้นตอนการเตรียมเส้นใยของบุญญารัตน์และคณะ (2552) ได้มีการใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในการปรับสภาพฟางข้าว เพื่อเพิ่มพื้นผิวในการยึดกันระหว่างเส้นใย (กนกวรรณ, 2558) ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการย่อยสลายฟางข้าวด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) กับจุลินทรีย์ EM และจุลินทรีย์ พด.2

เพื่อศึกษาว่าสารเร่งการย่อยชนิดใดมีประสิทธิภาพมากกว่าและนำไปใช้ในการจัดการปัญหาฟางข้าวต่อไป