การศึกษาขนาดของจุดบนดวงอาทิตย์ อัตราเร็วและคาบการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์จากภาพถ่ายดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัชชา จันสุข, เอกรัตน์ สวัสดิ์ผล, เทพรักษ์ ศรีจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มิยาวดี หาโกสีย์, ศิวะ ปินะสา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดของจุดบนดวงอาทิตย์อัตราเร็วและคาบการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์จากภาพถ่ายของจุดบนดวงอาทิตย์จากกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง โดยจะนำภาพดวงอาทิตย์มา

วิเคราะห์เพื่อหาพิกัดละติจูดและลองจิจูดของจุดบนดวงดวงอาทิตย์และนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาขนาดของจุดบนดวงอาทิตย์จากนั้นกำหนดจุดบนดวงอาทิตย์ที่มีละติจูดค่อนข้างคงที่เป็นมาตรฐานของละติจูดนั้นเพื่อนำไปหาอัตราการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์และนำค่าอัตราการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ที่ได้มาคำนวณหาคาบการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ จากการศึกษา พบว่าจุดบนดวงอาทิตย์อยู่ในช่วงละติจูดที่ 2.0 – 30.0 องศา ขนาดของจุดบนดวงอาทิตย์มีขนาดเฉลี่ยอยู่ในช่วงตั้งแต่ 9.0 – 235.0 MH โดยจุดที่เล็กที่สุดที่สังเกตได้มีขนาด 5.3 MH และจุดที่ใหญ่ที่สุดที่สังเกตได้ มีขนาด 391.6 MH และเมื่อละติจูดมีค่าสูงขึ้น อัตราการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์จะมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่คาบการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น