การสกัดสารเคลือบคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าวเพื่อยืดอายุมะละกอสุก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนภร สิงห์ภู่, สริตา รักถนอม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มลทิรา จีนามูล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยเป็นแหล่งของพืชผักผลไม้ มีพืชผักผลไม้สำคัญทางเศรษฐกิจมากมาย ขายได้ราคาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยประเทศที่ไทยส่งออกและได้ราคามากที่สุดคือประเทศจีน ไทยได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลไม้ไปจีนได้ 22 ชนิด ซึ่งนับเป็นประเทศเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลไม้สดมากประเภทที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมี มะขาม ส้มเขียวหวาน น้อยหน่า ส้ม ส้มโอ มะละกอ มะเฟือง ฝรั่ง เงาะ ชมพู่ ขนุน ลองกอง สับปะรด ละมุด กล้วย เสาวรส มะพร้าว ลำไย ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ และมังคุด แต่ปัญหาที่ตามมาคือการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวให้คงสภาพและคงรูปได้นานของผลไม้

“ข้าว” เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทยที่ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด (คิดเป็น 46.1% ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ) ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวที่สำคัญอันดับ 3 ของโลก หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว ก็จะมีฟางข้าว เป็นส่วนของลำต้นและใบข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวเป็นจำนวนมาก มักถูกเผาทิ้งเพื่อเตรียมแปลงนาสำหรับการเพาะปลูกในรอบต่อไป ทำให้เกิดฝุ่นควัน และเสียโอกาสในการนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ แม้ว่าจะมีการแก้ปัญหาโดยการนำฟางข้าวไปอัดก้อนเป็นอาหารให้กับปศุสัตว์ นำไปแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆ แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับจำนวนที่มหาศาลของฟางข้าวได้ ยังคงมีการเผาอยู่ต่อเนื่อง

ผู้วิจัยเห็นว่าฟางข้าวมีเซลลูโลสสูง เพียงพอในการผลิตคาร์บอกซิเมธิลเซลลูโลส ซึ่งเป็นสารเพิ่มความหนืดที่ช่วยในการยึดเกาะและเป็นสารคงสภาพ ในงานวิจัยปัจจุบันมีการทดสอบแล้วว่าฟางข้าวให้ปริมาณคาร์บอกซิเมทิลที่ดีมีคุณภาพแต่ยังไม่มีการนำไปทดสอบในการยืดอายุของผลไม้ ผู้วิจัยจึงสนใจนำมาสกัดเพื่อใช้เป็นสารเคลือบยืดอายุผลไม้ ให้คงสภาพและคงรูปได้นานขึ้น โดยมะละกอเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์อย่างมาก บำรุงสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้วิจัยเลยสนใจนำมะละกอมาใช้ในการเป็นตัวทดสอบประสิทธิภาพของสารเคลือบคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสจากฟางข้าวในการยืดอายุให้นานขึ้น