ศึกษาคุณสมบัติในการดูดแก๊สคาร์บอน และปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนลงในพื้นที่ปลูกต้นลิ้นมังกร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นีรชากร รักห่วง, ศิวัชญา ขุนนุ้ย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปาณิสรา ไชยรักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงพบปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ จำนวนมากเนื่องจากสังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมรวมไปถึงเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ก็มีมากขึ้น ปัจจัยจากโรงงานอุตสาหกรรมและท่อไอเสียเครื่องกลต่างๆก็เป็นตัวการสำคัญในการเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และปัญหามลพิษทางอากาศ อีกทั้งยังมีปัญหาภาวะโลกร้อนจากภาวะแก๊สเรือนกระจก และสังเกตได้ว่าในปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ เพื่อลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะต้นไม้จะใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการหายใจและสังเคราะห์แสง และจะปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงดินเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางกายภาพและเคมีของสิ่งมีชีวิต ทางกลุ่มของผู้พัฒนาโครงงานจึงต้องการจะศึกษาการสะสมคาร์บอนและการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนสุทธิในดิน ในพื้นที่ปลูกต้นลิ้นมังกร เพื่อแสดงให้เห็นว่าต้นลิ้นมังกรสามารถปรับปรุงบํารุงดินและฟื้นฟูดินที่มีปัญหาในการเพาะปลูกให้ต้นลิ้นมังกรสามารถ ปลูกพืชได้ และควรมีการแนะนําส่งเสริมให้มีการปลูกต้นลิ้นมังกร ที่สามารถกักเก็บคาร์บอนลงดินได้มากสามารถปรับปรุงสมบัติ ทางกายภาพและเคมีของดินดีขึ้น ดังนั้น หากมีการพัฒนาและรณรงค์การใช้ต้นลิ้นมังกรเพื่อดูดซับแก๊สคาร์บอนและตกแต่งเพื่อความสวยงาม อาจช่วยในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่สร้างปัญหาโลกร้อนลงได้แล้ว ต้นลิ้นมังกรยังช่วยกักเก็บคาร์บอน ลงดินที่สําคัญได้มากขึ้นอีกด้วย