ไบโอพอลิเมอร์จากของเหลือทิ้งในการแปรรูปสัตว์น้ำและการประยุกต์ใช้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิชญาภา สมยาโรน, ปรียาภัทร แป้นน้อย, สุวิชญา บัวเกตุ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อนจิต สิงห์เผ่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในแต่ละปีประเทศไทยมีการส่งออก นำเข้าและบริโภคกุ้ง ปู ปละหมึกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสถิติในปีพ.ศ.2560 พบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มความต้องการบริโภคสัตว์ทะเลมากขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 33.73 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งปริมาณเหล่านี้จะเป็นดัชนีแสดงถึงปริมาณการเหลือที่เกิดขึ้นมาตามไปด้วยดังนั้นแนวทางหนึ่งในการแปรรูปจากของเหลือเหล่านี้ให้มีมูลค่าสูงขึ้น ทั้งนี้จากการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสารไคตินพบว่าสารไคตินมีมากในเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู รวมทั้งแมลงต่างๆ และหมึก และสารไคตินนั้นมีประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งไคโตซาน สามารถพบเจอได้จากธรรมชาติของเปลือกนอกของสัตว์พวกกุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ โดยไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดอาการแพ้ ไม่เป็นวัตถุไวไฟและไม่เป็นพิษต่อพืช นอกจากนี้ยังพบว่าฟิล์มไคโตซานและแผ่นฟิล์มไคโตซานที่ผสมสารสกัดพืชบางชนิดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราก่อบนอาหารได้ ผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการศึกษาวิธีการที่จะทำให้สารไคตินที่อยู่ในเปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนหมึก ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงนำมาแปรรูปเป็นพลาสติกชีวภาพและบรรจุภัณฑ์ชีวภาพจากสารไคโตซาน โดยใช้สารไคโตซานที่มีอยู่ในสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลของพลาสติกชีวภาพ และบรรจุภัณฑ์ชีวภาพย่อยสลายได้จากแกนหมึก เปลือกกุ้ง และกระดองปู และการประยุกต์ใช้ โดยวิธีการการเตรียมแกนหมึก กระดองปู และเปลือกกุ้ง มีการกำจัดโปรตีน การกำจัดเกลือแร่ กระบวนการแยกหมู่ของอะซิติก การเตรียมพลาสติกไคโตซาน พลาสติกไคโตซานผสม CMC และนำไปทำการทดสอบการยับยั้งการเจริญเติบโตของ A. flavus โดยการประยุกต์ใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นสารเคลือบบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของพลาสติกชีวภาพ การทดสอบคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ความสามารถในการดูดซึมน้ำ ความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรค