ศึกษาผลของอาหารที่ผสมแคโรทีนอยด์ชนิดต่างๆต่อการเพิ่มความเข้มของสีปลาสอด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิชชาภา แซ่จั่ว, สิริบุญ ขวัญนิมิตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

หนึ่งฤทัย ชัยมณี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปลาสอดเป็นปลาน้ําจืดที่นิยมเลี้ยงอย่างเเพร่หลาย มีสีสันที่สวยงามและหลากหลาย เช่น สีเเดง สีเหลือง และสีขาว เป็นต้น ซึ่งปลาสอดเป็นปลาที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศและเป็นปลาสวยงามที่ ทํารายได้ให้แก่ประเทศเป็นจํานวนมาก จากการเพาะเลี้ยงปลาสอดเพื่อส่งออกและจําหน่ายนั้นมักพบว่า

ปลาสอดมีสีซีดลง หรือมีสีที่ไม่ตรงตามความต้องการของตลาด โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดจากการ ทํางานของเซลล์ผิวหนังที่มีแคโรทีนอยด์เป็นองค์ประกอบของปลาสอดจะเปลี่ยนสีสันเพื่อปรับให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม และตอบสนองต่อสิ่งเร้าเมื่อมีอาการตื่นเต้นหรือขณะเกี้ยวพาราสีแต่เนื่องจากปลาไม่สามารถ สังเคราะห์แคโรทีนอยด์ได้เองจึงจําเป็นต้องรับโดยตรงจากอาหาร การเสริมแคโรทีนอยด์ในอาหารจึงเป็น แนวทางสําคัญที่ช่วยให้ปลาสอดมีสีสันตรงตามความต้องการของตลาดโดยเฉพาะสีส้มและสีแดง ปลา สามารถเก็บเม็ดสีที่ได้รับจากอาหารไว้ภายในตัวหรือเปลี่ยนเป็นแคโรทีนอยด์ในรูปสีอื่นได้โดยขึ้นอยู่กับ กระบวนการเมทาบอลิซึมภายในตัวของปลา แคโรทีนอยด์มีบทบาทสําคัญต่อขบวนการเมทาบอลิซึมของ ปลาเนื่องจากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากสารอาหาร นอกจากนี้แคโรทีนอยด์ต่างชนิดกันจะให้สีในสัตว์น้ําต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์น้ําการศึกษาชนิดของแคโรทีนอยด์ที่มีผลต่อการเพิ่มสีบริเวณผิวหนังของปลาต่างกัน เนื่องจากปลาสอดแต่ละชนิดมีสีสันแตกต่างกัน ดังนั้นความต้องการ สารอาหารเพื่อเพิ่มสีจึงแตกต่างกันสําหรับปลาสอดยังไม่มีข้อมูลรายงานึงชนิดอาหารที่เหมาะสม รวมถึง สารแคโรทีนอยด์ที่เหมาะสมในอาหารเพื่อให้ได้สีปลาตรงตามความต้องการ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงชนิดของแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ที่ปลาสอดได้รับแคโรทีนอยด์ต่อการเพิ่มสีของปลาสอด เพื่อให้ปลามีสีสวยงามตรงกับความต้องการของตลาด ถือเป็นการ

ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และเพิ่มมูลค่าปลาสอดเพื่อการส่งออก นอกจากนั้นเพื่อข้อมูลพื้นฐานในการผลิตอาหารที่ช่วยเพิ่มสีในปลาสอดและส่งออกปลาสวยงามต่อไปในอนาคต