การศึกษาประสิทธิภาพไคโตซานคอมโพสิท ในการขึ้นรูปลักษณะของฟิล์ม และบีด ต่อการยืดอายุผลผลิตทางการเกษตร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วริศรา จุ้ยแก้วพะเนา, ภัสพร อุ่นเมือง, เบญจภัค สกุลภักดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยุวธิดา ปักโคทานัง, อรวรรณ ผันผาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทยทั้งในด้านการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก รวมถึงเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภค พืชผลการเกษตรส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาได้นาน เกิดการเน่าเสียง่าย และสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเราจึงสนใจที่แก้ปัญหานี้ โดยจะนำไคโตซานซึ่งเป็นสิ่งที่ผลิตได้จากวัสดุหลือใช้จำพวกเปลือกกุ้ง ปู ซึ่งจากลักษณะเด่นเฉพาะตัวตามธรรมชาติของของไคโตซานมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย และเชื้อรา และยังมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่มีการตกค้าง โดยที่ในโครงงานนี้จะนำแผ่นพอลิเมอร์ไคโตซานมาใช้ในการยืดอายุของผลผลิตทางการเกษตรใน 2 รูปแบบ คือการนำไคโตซานมาขึ้นรูปลักษณะของฟิล์ม และลักษณะของเม็ดบีด โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ 1) การศึกษาวิธีการทำแผ่นฟิล์มไคโตซานโดยหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของไคโตซาน เจลาติน และอัลจิเนตในการขึ้นแผ่นฟิล์ม 2)การศึกษาวิธีการทำเม็ดบีดไคโตซานโดยการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์สารที่เหมาะสม 3) เพิ่มวัสดุในการผลิตแผ่นฟิล์มหรือเม็ดบีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยืดอายุของผลไม้ที่ใช้เป็นสิ่งทดสอบได้แก่มะนาวและลองกอง 4) ศึกษาสมบัติของแผ่นฟิล์มไคโตซาน โดยการวัดความหนาของแผ่นฟิล์ม การทดสอบการแพร่ผ่านของไอน้ำผ่านฟิล์ม การทดสอบการละลายน้ำ และการทดสอบการทนต่อแรงดึง การศึกษาพื้นผิวด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบการส่องกราด (SEM) รวมถึงประสิทธิภาพในการยังยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของผลไม้ที่ใช้เป็นสิ่งทดสอบ 5) ศึกษาสมบัติของเม็ดบีดไคโตซาน โดยการวัดขนาดของเม็ดบีด ความสามารถในการดูดซับน้ำ (ค่าการบวมน้ำ) ความแข็งของเม็ดบีด การศึกษาพื้นผิวด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบการส่องกราด (SEM) 6) การศึกษาผลของแผ่นฟิล์มไคโตซานในการยืดอายุของมะนาว และลองกอง โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงสีของเปลือก ลักษณะผิวสัมผัสของเปลือกและผลทั้งหมด และระยะเวลาในการเก็บรักษา 7) การศึกษาผลของเม็ดบีดไคโตซานในการเก็บรักษากระเทียม และพริกสด ซึ่งการศึกษาทั้งหมดนี้เพื่อให้ได้วัสดุจากธรรมชาติที่มีต้นทุนต่ำ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภคและไม่เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม