การเพาะเลี้ยงหนอนรถด่วน(Omphisa fuscidentalis) ในรังเทียมจากใยบวบโดยใช้ระบบควบคุมปัจจัยในการเพาะเลี้ยงอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดอัตราการตายของหนอนรถด่วน(Omphisa fuscidentalis)
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นางสาว วิภารัตน์ รวยทรัพย์โภคิน, ณิชา เสถียรขจรกิจ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กีรติ ทะเย็น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หนอนรถด่วนเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย หนอนรถด่วนเป็นสัตว์ที่หายาก ชาวบ้านต้องลำบากเข้าไปหาหนอนดังกล่าวในป่าลึก และต้องโค่นไม่ไผ่ทิ้งเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ชาวบ้านจะบรรจุหนอนดังกล่าวในกระบอกไม้ไผ่ระหว่างรอจำหน่าย แต่วิธีดังกล่าวส่งผลให้หนอนรถด่วนเสียชีวิต มีต้นทุนการผลิตสูง และกระบอกไม้ไผ่มีอายุการใช้งานสั้น ดังนั้นทางทีมงานจึงทดลองเพาะเลี้ยงหนอนรถด่วนในรังเทียมจากใยบวบโดยใช้ระบบควบคุมปัจจัยในการเพาะเลี้ยงอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดอัตราการตายของหนอนรถด่วน การทดลองแบ่งออกเป็น 6 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงหนอนรถด่วน พบว่า หนอนรถด่วนเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบแสง และชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้น 70-80% ตอนที่ 2 ศึกษาชนิดของอาหารที่เหมาะสมต่อการนำมาเลี้ยงหนอนรถด่วน พบว่า อาหารที่เหมาะสมต่อการนำมาเลี้ยงหนอนรถด่วน คือ เยื่อไผ่บง ตอนที่ 3 ศึกษาอายุของใยบวบที่เหมาะสมต่อการนำมาทำรังเทียมสำหรับเลี้ยงหนอนรถด่วน พบว่า ใยบวบที่เหมาะสมต่อการนำมาเลี้ยงหนอนรถด่วนควรมีอายุ 40 วัน ตอนที่ 4 ศึกษาเปอร์เซ็นต์การรอดตายของหนอนรถด่วน ที่เลี้ยงในภาชนะต่างชนิดกัน พบว่า หนอนรถด่วนที่เลี้ยงในรังเทียมจากใยบวบมีอัตราการรอดตายมากกว่าการเลี้ยงในกระบอกไม้ไผ่และท่อดินเผา โดยมีอัตราการรอดตาย 100% ภายในเวลา 84 วัน ตอนที่ 5 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบควบคุมปัจจัยในการเพาะเลี้ยงหนอนรถด่วนอัตโนมัติ พบว่า ระบบควบคุมปัจจัยในการเพาะเลี้ยงหนอนรถด่วนอัตโนมัติมีประสิทธิภาพในระดับมาก โดยมีค่า 𝑥̅ = 4.45 และค่า S.D.=0.04 ตอนที่ 6 ศึกษาวงจรชีวิตของหนอนรถด่วนที่เลี้ยงในรังเทียมจากใยบวบ พบว่า วงจรชีวิตของหนอนรถด่วนที่เลี้ยงในรังเทียมจากใยบวบ เท่ากับ 294 วัน โดยบ่งเป็นระยะไข่ 7 วัน ระยะหนอน 217 วัน ระยะดักแด้ 56 วัน และระยะตัวเต็มวัย 14 วัน โครงงานนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดอัตราการเสียชีวิตของหนอนรถด่วน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้การเลี้ยงหนอนรถด่วนในรังเทียมจากใยบวบจะช่วยให้ชาวบ้านไม่ต้องลำบากในการเดินทางออกไปหาหนอนรถด่วนในป่าลึก ไม่ต้องเสี่ยงต่ออันตราย และลดการตัดต้นไม้ไผ่ทิ้ง และช่วยลดต้นทุน การผลิต เพราะใยบวบมีราคาถูกกว่ากระบอกไม้ไผ่และท่อดินเผา ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น