การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเกิด B-Amyloid จากใบแปะก๋วยและขมิ้นชัน เพื่อเป็นแนวทางในการชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ด้วยวิธีการ Fluorescence thioflavin T assay
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนกฤต กฐินหอม, สุภัคพงศ์ ดำทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อนุรุทธิ์ หมีดเส็น, นภวรรณ มัณยานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในสภาพโลกหลังมานี้ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) เป็นโรคความจำเสื่อมที่พบบ่อยที่สุดในโลก ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการใช้คําผิด นึกคําไม่ออก มีปัญหาในด้านการใช้ภาษา ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ลืมเรื่องที่เพิ่งพูดไปหรือลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น ย้ำคิดย้ำทำและถามคำถามเดิม ซํ้าๆ และในระยะสุดท้ายผู้ป่วยของโรคนี้จะมีอาการหลงลืม คิดช้า เช่น ไม่สามารถรู้ว่าตนเป็นใคร มาจากไหน เป็นต้น โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของสมองหลายประการ อาทิ อนุมูลอิสระ การเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่สาเหตุหลักสําคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือ การสะสมของโปรตีน beta-amyloid (Aβ) เกิดเป็น amyloid plaques หรือเป็นกระจุก ขด กันเป็นวง Aβ เป็นโปรตีนขนาดเล็กที่พบได้ในสมองของทุกคน แต่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมี Aβ สะสมในสมองเป็นจำนวนมาก Aβ เหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นแผ่น amyloid ซึ่งสามารถทำลายเซลล์ประสาทในสมองและนำไปสู่อาการของโรคอัลไซเมอร์
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะกลุ่มของAβ โดยการใช้สมุนไพรไทยในการทดสอบ2ชนิด คือ ใบแปะก๊วย (𝘎𝘪𝘯𝘬𝘨𝘰 𝘣𝘪𝘭𝘰𝘣𝘢) และ ขมิ้นชัน (𝘊𝘶𝘳𝘤𝘶𝘮𝘢 𝘭𝘰𝘯𝘨𝘢) ใช้วิธีการ fluorescence thioflavin T assay ซึ่งเป็นวิธีการสามารถวัด Aβ ได้อย่างแม่นยํา รวดเร็ว และ ปลอดภัย
งานวิจจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิด Aβ จากใบแป๊ะก๋วยและขมิ้นชัน เพราะสมุนไพรทั้งสองจัดได้ว่าเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติที่สามารถต้านการอักเสบ และ ต้านการเกิด ซึ่งสามารถนําไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการทําผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาจนําไปสู่การค้นพบยาหรือวิธีการรักษาใหม่ เพื่อชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์